ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

อาณาจักรทวารวดีมีจริงหรือไม่ อยู่ที่ไหนกันแน่




ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤตเกิดขึ้นครั้งแรกในปี
พ.ศ. 2427 โดยนายแซมมวล บีล (อังกฤษ: Samuel Beel)
ได้แปลงมาจากคำว่า โถโลโปตี (อังกฤษ: Tolopoti)
ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง (อังกฤษ: Hiuantsang)
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โถโลโปตี เป็นชื่อ
ของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร
และอาณาจักรอิศานปุระ และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักร
นี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน
และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น
จวนโลโปติ (อังกฤษ: Tchouanlopoti) หรือ เชอโฮโปติ
(อังกฤษ: Chohopoti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย
ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและ
ให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน
(อังกฤษ: Edourd Chavannes) และ นายตากากุสุ
(อังกฤษ: Takakusu) ผู้แปลจดหมาย
เหตุการณ์เดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. 2439 และ
นายโปล เปลลิโอต์ (อังกฤษ: Paul Pelliot) ผู้ขยาย
ความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็น
ชาวมอญในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมือง
โบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมาย
โดยเฉพาะใน บริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิม
ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย
 แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัย
ราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13
ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์
(อังกฤษ: Lunet de Lajonguiere) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพล
อินเดียแต่ไม่ใช่ขอม จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็น
เรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468)
และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469)
เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมือง
โบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้น
ว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะ
แบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้ง
อาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก
และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดี
จึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุ
ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16
อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบ
เหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุ
ราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากเมืองนครปฐมโบราณ
 มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า
 บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ
 บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดี
ผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็น
ที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วย
ว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวง
ของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกัน
อีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่
อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐม
จึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่า
อำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็น
เมืองหลวงมากกว่ากัน