ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

พระปริตร ๑๒ ตำนาน บทสวดมนต์เพื่อคุ้มครองและป้องกันภัย



พระปริตร ๑๒ ตำนาน บทสวดมนต์มหัศจรรย์ สวดเพื่อคุ้มครองและป้องกันภัย
"พระปริตร" หมายถึง "เครื่องคุ้มครอง" อันเป็นบทสวดมนต์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และสําคัญมากในพุทธศาสนา มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการสวดพระพุทธวจนะ ให้คุ้มครองป้องกันภัยแก่ผู้สวดทำให้เกิดความสุขสวัสดิ์ ผ่อนภัยร้ายให้กลายเป็นเบา

อานิสงส์ของการสวดพระปริตร ๑๒ ตำนาน
๑.มงคลปริตร มงคลชีวิต ๓๘ ประการ สวดเพื่อความเป็นมงคลให้กับชีวิต ป้องกันชีวิตตกต่ำ
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงหลักปฏิบัติ ๓๘ ประการ ที่จะช่วยให้ชีวิตมีแต่ความเป็นสิริมงคล อันจะทำให้เกิดความสุข และความเจริญสูงสุดในชีวิต
๒.รัตนปริตร ขับไล่เสนียดจัญไร โรคภัยไข้เจ็บ ทำให้เกิดความสวัสดีในชีวิต
เนื้อความในบทสวดกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อาราธนาเอาคุณความดีของพระรัตนตรัยนั้นมาปกปักรักษาตน ช่วยทําลายความทุกข์โศกให้หายไป และขออํานวยความสุขสวัสดิ์แก่ตน
๓.เมตตปริตร หรือกรณียเมตตสูตร ทำให้เทวดารักใคร่
เนื้อความในบทสวดกล่าวาวถึงอานุภาพของการแผ่เมตตา
๔.ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงการแผ่เมตตาให้สัตว์ร้ายทั้งปวง เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง เสือ จระเข้ เหยียว แร้ง กา นิยมสวดเมื่อเข้าป่า ช่วยให้เกิดความแคล้วคลาดปลอดภัย
๕.โมรปริตร ป้องกันภัยทั้งกลางวัน และกลางคืน สวดบูชาให้พ้นจากผู้คิดร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพญานกยูง พุทธานุภาพให้พระโพธสัตว์รอดพ้นจากบ่วงของนายพรานนานถึง ๑๒ ปี สวดเพื่อให้รอดพ้นจากผู้คิดร้าย
๖.วัฏฏกปริตร ป้องกันอัคคีภัย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ้มที่กำลังถูกไฟป่าลุกลาม แต่ด้วยสัจจะอธิษฐานจึงทำให้ไฟป่าสงบลง ใชสวดเพื่อป้องกันอัคคีภัย
๗.ธชัคคปริตร ป้องกันอันตรายจากความเสี่ยง และภยันตรายทั้งปวง
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงสงครามระหวางเทวดาและอสูร ท้าวสักกะเห็นว่าเหล่าเทวดาเกิดความหวาดกลัว จึงชี้ให้เหล่าเทวดามองขึ้นไปบนยอดธงรบของพระองค์ เพื่อให้เกิดกําลังใจจนได้รับชัยชนะในที่สุด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนําใหเหล่าภิกษุไปปฏิบัติธรรมตามป่า เขา เมื่อเหล่าภิกษุเกิดความหวาดกลัวอันตราย พระพุทธองค์ทรงกแนะให้ระลึกถึงยอดธงรบของท้าวสักกะอยู่เสมอ ธงรบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของพระรัตนตรัย ที่มีชัยเหนือทกสรรพสิ่ง อานุภาพของพระคาถาบทนี้จึงปกป้องคุ้มครองให็ผู็สวดเกิดความฮึกเหิมและแคล้วคลาดปลอดภัย
๘.อาฏานาฏิยปริตร คาถาท้าวเวสสุวรรณป้องกันภูตผี ปีศาจ อมนุษย์
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ในอดีต และการอาราธนาพุทธานุภาพเหล่านั้นมาคุ้มครองให้ผู้สวดรอดพ้นจากอันตราย
๙.อังคุลีมาลปริตร สัจจะวาจาของพระอังคุลีมาล ช่วยให้คลอดบุตรง่าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงสัจาธิษฐานของพระองคุลิมาลเถระ ที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยหญิงมีครรภ์คนหนึ่ง
๑๐.โพชฌังคปริตร คุณธรรม ๗ ประการที่จะช่วยให้บรรลุธรรม ป้องกันโรคร้าย ทำให้สุขภาพแข็งแรง
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงพระธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสร ๗ ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา มีอานุภาพรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นไข้
๑๑.อภัยปริตร ป้องกันฝันร้าย ภัยพิบัติทั้งปวง
เนื้อความในบทสวดสวดมีอานุภาพเพื่อแก้ลางร้าย เหตุร้าย ฝันร้าย ทําลายสิ่งอัปมงคลทั้งปวงให้มลายสิ้น
๑๒.ชัยปริตร มีชัยชนะเหนอความชั่วร้าย
เนื้อความในบทสวดกล่าวถึงอานุภาพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สวดเป็นประจําเพื่อให้ได้รับชัยชนะเหนือสิ่งเลวร้าย
พระปริตรจะมีอานุภาพ และอานิสงส์ก็ต่อเมื่อผู้สวดมีเมตตาจิตมุ่งประโยชน์แก่ผู้อื่น สวดถูกต้องตามอักขระวิธี และเข้าใจความหมายของบทสวด อีกต้องถึงพร้อมด้วยองค์ ๓ ประการคือ ๑.ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๕ ประการคือ ฆ่ามารดา บิดา, ฆ่าพระอรหันต์, ทำร้ายพระพุทธเจ้ายังพระโลหิต รวมถึงสังฆเภทยังหมู่สงหืให้แตกแยก ๒.ไม่มีมิจฉาทิฏฐิที่เห็นผิดว่ากรรมและผลของกรรมไม่มีจริง ๓.เชื่อมั่นในอานุภาพของพระปริตรว่ามีจริง
พระปริตรที่ควรสวดเป็นประจำ
สำหรับผู้ที่ต้องการการสวดพระปริตรเป็นประจำทุกวันแต่มีเวลาน้อยหรือไม่สะดวกในการสวดพระปริตรทั้งหมด  ก็ควรสวดพระปริตร ๔ บทนี้ คือ เมตตาปริตร ขันธปริตร โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เพราะเมตตาปริตร และขันธปริตร จะเป็นการเน้นเรื่องของการเจริญเมตตา ส่วนโมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร จะเน้นเรื่องของการเจริญพระพุทธคุณ หากผู้สวดเป็นผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงก็ควรเพิ่มบทโพชฌังคปริตรไปด้วยอีกหนึ่งบท ที่สำคัญก่อนการสวดพระปริตรทุกครั้งให้สวดบทปุพพนมการ หรือนโม ๓ จบ อันเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อคุณพระรัตนตรัย และตามด้วยบทไตรสรณคมน์ คือพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ...แล้วจึงสวดพระปริตรเป็นอันดับต่อไป
ประเภทและจำนวนของพระปริตร
พระปริตร ที่ใช้สวดกันจำแนกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
จุลราชปริตร : ราชปริตรน้อย (เจ็ดตํานาน) ประกอบด้วย
๑.มงคลปริตร
๒.รัตนปริตร
๓.เมตตาปริตร
๔.ขันธปริตร
๕.โมรปริตร
๖.ธชัคคปริตร
๗.อาฏานาฏิยปริตร
มหาราชปริตร : ราชปริตรใหญ่ (สิบสองตํานาน) ประกอบด้วย
๑.มงคลปริตร
๒.รัตนปริตร
๓.เมตตาปริตร
๔.ขันธปริตร
๕.โมรปริตร
๖.วัฏฏกปรตร
๗.ธชัคคปริตร
๘.อาฏานาฏิยปริตร
๙.อังคุลิมาลปริตร
๑๐.โพชฌังคปริตร
๑๑.อภยปริตร
๑๒.ชัยปริตร
ที่มาของพระปริตรต่างๆ
เมตตปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
ขันธปริตร มีในอังคุตตรนิกาย จตกกนบาต และ ชาดก ทุกนิบาต
โมรปริตร มีในชาดก ทุกนิบาต
อาฏานาฏิยปริตร มีในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
โพชฌังคปริตร มีในสังยุตตนกาย มหาวรรค
รัตนปริตร มีในขุททกปาฐะ และสตตนบาต
วัฏฏกปริตร มีในชาดก เอกนิบาต และจริยาปิฏก
มงคลปริตร มีในขุททกปาฐะ และสตตนิบาต
ธชัคคปริตร มีในสังยตตนกาย สคาถวรรค
อังคุลิมาลปริตร มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก
อภยปรตร ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก เป็นพระปริตรที่โบราณาจารย์ของไทยรจนาประพันธ์ขึ้นโดยอ้างคุณพระรัตนตรัยมาพิทักษ์ให้มีความสวัสดี
ชัยปรตร เป็นพระปริตรที่ประพันธ์เป็นคำร้อยกรอง หรือที่เรียกว่าคาถา ในภาษาบาลีจำนวน ๕ คาถาครึ่งนั้น ปรากฏในพระไตรปิฎกเฉพาะ ๒ คาถาครึ่งสดท้ายที่เป็นพระพุทธพจน์ ซึ่งนำมาจากสุปุพพัณหสตร อังคุตตรนกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มท ๒๐ โดย ๓ คาถาแรกท่านโบราณาจารย์แต่งเสริมขึ้นในภายหลัง