ฌาน
(บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ
ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก
ฌาน 2
ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ
ได้แก่
อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ
รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา
มรรค ผล
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน
เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค
ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพาน
อันมีลักษณะเป็น สุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง
และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌาน 2 ประเภท
แต่โดยทั่วไป
เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์
ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย
วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย
ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย
สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย
อุเบกขา เอกัคคตา
อรูปฌาน 4 ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์
ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อัปปนาสมาธิ)
เมื่อกล่าวสั้นๆ
ว่า " ฌาน 4"
จะหมายถึง รูปฌาน 4 และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า
"ฌาน 8" จะหมายถึง รูปฌาน 4
กับ อรูปฌาน 4 ปฐมฌานเหมาะแก่การทำวิปัสสนา เพราะมีวิตก
วิจาร อยู่
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน
ได้มีการรวบรวมไว้เป็น กรรมฐาน 40 สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้เกิดฌาน คือ
นิวรณ์ 5
ฌานสมาบัติ
สมาบัติ
เป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึ่งเข้าถึง มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ เป็นต้น
สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ 8
อันได้แก่ ฌาน 8 (รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน
4)
ในบางกรณี
รูปฌาน 4 อาจถูกจำแนกใหม่ในรูปแบบของ ปัญจมฌาน เป็นการจำแนกตามแบบพระอภิธรรม
เรียกว่า ปัญจกนัย การจำแนกตามแบบพระสูตร เรียกว่า จตุกนัย
ที่ต้องจำแนกเป็นปัญจมฌาน เนื่องจากฌานลาภี(ผู้ได้ฌาน)มี 2
ประเภท คือ ติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) และ มันทบุคคล (ผู้รู้ช้า)
อนุปุพพวิหารสมาบัติ
9 หมายถึง สมาบัติ 8 กับ นิโรธสมาบัติ