ชมพูทวีป หมายถึง
โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ
ดังมีหลักฐานในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ดังนี้
ที่อยู่ของมนุษย์หรือมนุสสภูมินั้นอยู่บนพื้นดิน
(หรือเรียกว่า ดาวเคราะห์) ลอยอยู่กลางอากาศในระดับเดียวกับไหล่เขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่ในทิศทั้ง
4 ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล (หรือทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียก
กาแล็กซี่) ผืนแผ่นดินใหญ่ (ดาวเคราะห์) ทั้ง 4 ที่ลอยอยู่ในทิศทั้ง
4 เรียกว่า "ทวีป" มีชื่อและที่ตั้ง ดังนี้
1.
ปุพพวิเทหทวีป
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
2.
อมรโคยานทวึป (อปรโคยานทวีป)
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
3.
ชมพูทวีป (โลกมนุษย์ที่เราอยู่)
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ
4.
อุตตรกุรุทวีป
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ
ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ
(เขาพระสุเมรุ)
·
มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ
แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
·
มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง 4 ศอก
มีอายุเป็น อายุกัป หรือเฉลี่ยโดยอายุของมนุษย์ทั้งหมด ปัจจุบันคือ 120 ปี
·
มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้
อายุขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
·
สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง 80,000 ปี แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง อาหารหยาบขึ้น อายุก็ลดลง
·
ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป
จะมีอายุเพียง 10
ปี เท่านั้น
·
ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)"
...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก
"ชมพู"
เรื่องของชมพูทวีป
เหตุที่เรียกชื่อดังนี้ เพราะทวีปนี้มีไม้หว้าเป็นพญาไม้ประจำทวีป (ต้นชมพู
แปลว่าต้นหว้า) ไม้หว้าต้นนี้อยู่ในป่าหิมพานต์ ลำต้นวัดโดยรอบ 15 โยชน์
จากโคนถึงยอดสูงสุด 100 โยชน์ จากโคนถึงค่าคบสูง 50 โยชน์ ที่ค่าคบมีกิ่งทอดออกไปในทิศทั้ง 4 แต่ละกิ่งยาว
50 โยชน์ วัดจากโคนต้นไปทางทิศไหนก็จะสูงเท่ากับความยาวในแต่ละทิศ
คือ 100 โยชน์ ใต้กิ่งหว้าทั้ง 4 นั้น
เป็นแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านไปในทิศทั้งหลาย ผลหว้ามีกลิ่นหอม รสหวานปานน้ำผึ้ง
หมู่นกทั้งหลายชวนกันมากินผลหว้าสุกนั้น บางทีผลสุกก็หล่นลงตามฝั่งแม่น้ำ
แล้วงอกออกเป็นเนื้อทอง และถูกน้ำพัดออกไปจมลงในมหาสมุทร เรียกทองนั้นว่า
ทองชมพูนุท เพราะอาศัยเกิดมาจาก ชมพูนที
ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทวีปทั้ง
3 ยกเว้นชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์
ไม่มีมลภาวะ ทำให้อาหารการกิน และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์
โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนเหมือน อย่างในชมพูทวีป ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ใน 3
ทวีป มีศีลธรรมที่เป็นปกติ สม่ำเสมอ ส่วน มนุษย์ในชมพู-ทวีป
มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก บางคนสุขสบาย บางคนลำบาก บางคนปานกลาง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคน
แต่ละยุคในชมพูทวีป
อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในชมพูทวีป มีความแตกต่างกันมากที่สุดก็ว่าได้
1.
อังคะ
2.
มคธะ
3.
กาสี
4.
โกศล
|
5.
วัชชี
6.
มัลละ
7.
เจตี
8.
วังสะ
|
9.
กุรุ
10.
ปัญจาละ
11.
มัจฉะ
12.
สุรเสนะ
|
13.
อัสสกะ
14.
อวันตี
15.
คันธาระ
16.
กัมโพชะ
|
และมีแคว้นเล็กๆ
อีก 5 แคว้นคือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ
แคว้นพระบิดาของพระพุทธองค์ก็อยู่ในแคว้นเล็ก
ๆ นี่อาณาจักรเหล่านี้ปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ พระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบบสามัคคีธรรม คือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง
ระบบประชาธิปไตยบ้าง แต่ส่วนมากจะเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาถือกำเนิดในแผ่นดินอินเดีย
จึงควรจะได้ศึกษาภูมิหลังของอินเดียในยุคก่อนการกำเนิดของพุทธศาสนาพอสังเขป ดังนี้
ชนชาติที่เชื่อกันว่า
เป็นชนชาติดั่งเดิมของอินเดียคือ เผ่าซานโตล (Santole) มุนดา (Mundas) โกลาเรีย (Kolaria) ตูเรเนียน (Turanians)
ดราวิเดียน (Dravidians) คนพวกนี้เป็นพวกผิวดำจำพวกหนึ่ง ปัจจุบันยังพอมีหลงเหลืออยู่ที่รัฐพิหาร และเบงกอล ของอินเดีย