วันอาสาฬหบูชา วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันที่สมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
หลังจากทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และท่านโกณฑัญญะได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็นปฐมสาวก เป็นพยานความตรัสรู้
ของพระศาสดา เป็นอันว่าทรงยังความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สำเร็จบริบูรณ์
ด้วยเทศนาโปรดให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ
พระธรรม และพระสงฆ์
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันที่สมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
หลังจากทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และท่านโกณฑัญญะได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็นปฐมสาวก เป็นพยานความตรัสรู้
ของพระศาสดา เป็นอันว่าทรงยังความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สำเร็จบริบูรณ์
ด้วยเทศนาโปรดให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ
พระธรรม และพระสงฆ์
พระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปฐมเทศนา ที่ทรงแสดงนั้น
ทรงแสดงส่วนสุด ๒ อย่าง อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
กามสุขัลลิกานุโยค
การประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม อันเป็นส่วนสุดข้างหย่อน ๑
อัตตกิลมถานุโยค
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า อันเป็นส่วนสุดข้างตึง ๑
ทรงแสดง มัชฌิมาปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง
ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันได้แก่
สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา วาจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
สัมมาอาชีวะ ความเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นชอบ
ทรงแสดง อริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
สมุทัย ตัณหา ๓ เป็นเหตุแห่งทุกข์
นิโรธ ความดับทุกข์ (ดับตัณหา ๓)
มรรค ทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งความดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
อริยสัจ ๔ ที่ทรงตรัสรู้นั้น ทรงตรัสเป็นพระบาลีว่า "ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ"
ธรรมที่เราไม่เคยฟังมาก่อน นั่นคือ ทรงยืนยันว่า อริยสัจ ๔ ที่ทรงตรัสรู้นั้น
ทรงรู้โดยองค์เอง (ไม่มีใครสอนมาก่อน)
ทรงแสดง กิจที่พึงทำในอริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์ เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้
สมุทัย เป็นปหาตัพพะ ควรละ
นิโรธ เป็นสัจฉิกาตัพพะ ควรกระทำให้แจ้ง
มรรค เป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่
ธรรมจักษุ คือ ดวงตา คือปัญญาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับเป็นธรรมดา"
ท่านโกณทัญญะได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็นปฐมสาวก
เป็นพยานความตรัสรู้ของพระศาสดา เป็นอันว่าทรงยังความ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยเทศนาโปรดให้ผู้อื่นรู้ตามได้
ในกาลนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว
ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ"
แปลว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ"
เพราะอาศัยพระอุทานว่า "อญฺญาสิ" ที่แปลว่า "ได้รู้แล้ว" คำว่า อญฺญาโกณฺฑัญฺโญ
ฃจึงได้เป็นนามของท่านโกณฑัญญะตั้งแต่กาลนั้นมา
ทรงแสดงส่วนสุด ๒ อย่าง อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
กามสุขัลลิกานุโยค
การประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม อันเป็นส่วนสุดข้างหย่อน ๑
อัตตกิลมถานุโยค
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า อันเป็นส่วนสุดข้างตึง ๑
ทรงแสดง มัชฌิมาปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง
ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันได้แก่
สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา วาจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
สัมมาอาชีวะ ความเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นชอบ
ทรงแสดง อริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
สมุทัย ตัณหา ๓ เป็นเหตุแห่งทุกข์
นิโรธ ความดับทุกข์ (ดับตัณหา ๓)
มรรค ทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งความดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
อริยสัจ ๔ ที่ทรงตรัสรู้นั้น ทรงตรัสเป็นพระบาลีว่า "ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ"
ธรรมที่เราไม่เคยฟังมาก่อน นั่นคือ ทรงยืนยันว่า อริยสัจ ๔ ที่ทรงตรัสรู้นั้น
ทรงรู้โดยองค์เอง (ไม่มีใครสอนมาก่อน)
ทรงแสดง กิจที่พึงทำในอริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์ เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้
สมุทัย เป็นปหาตัพพะ ควรละ
นิโรธ เป็นสัจฉิกาตัพพะ ควรกระทำให้แจ้ง
มรรค เป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่
ธรรมจักษุ คือ ดวงตา คือปัญญาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับเป็นธรรมดา"
ท่านโกณทัญญะได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็นปฐมสาวก
เป็นพยานความตรัสรู้ของพระศาสดา เป็นอันว่าทรงยังความ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยเทศนาโปรดให้ผู้อื่นรู้ตามได้
ในกาลนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว
ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ"
แปลว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ"
เพราะอาศัยพระอุทานว่า "อญฺญาสิ" ที่แปลว่า "ได้รู้แล้ว" คำว่า อญฺญาโกณฺฑัญฺโญ
ฃจึงได้เป็นนามของท่านโกณฑัญญะตั้งแต่กาลนั้นมา