ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

ตำนานแผ่นดินไหวทำ “โยนกนคร” จมธรณี



เมืองเชียงแสน จ.เชียงราย มีหนองน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เวียงหนองล่ม ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเมืองโยนกนครแต่ต้องล่มสลายไปด้วยแผ่นดินไหวตามตำนานที่เล่าต่อๆกันมา อาณาจักรโยนก ปัจจุบันคือที่พื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่เมื่อ 1,500 ปีที่แล้วเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง ครั้งที่รุนแรงที่สุด
ทำให้อาณาจักรโยนกถึงกับจมหายไป โดยพงศาวดารโยนกบันทึกว่า ในคืนวันเสาร์ เดือน 7 แรม 7 ค่ำ พ.ศ.1003
ตำนานเล่าเอาไว้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของเวียงโบราณแห่งหนึ่ง ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าชายสิงหนวัติ ซึ่งเสด็จมาจากนครไทยเทศ” (นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าอยู่แถบมณฑลยูนนาน ในประเทศจีน) อพยพผู้คนลงมาสร้างเมืองในราวปี พ.ศ. 638
เจ้าชายสิงหนวัติมีพญานาคกับบริวารมาแนะนำชัยภูมิให้ แถมยังช่วยปรับพื้นที่ ทำคันดินเป็นกำแพงให้จนเสร็จสรรพในคืนเดียว เจ้าชายทรงสำนึกในบุญคุณ จึงทรงขนานนามเมืองโดยใช้ชื่อของพญานาคนำหน้าพระนามของพระองค์ว่า นครโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่พญานาค
ในยุคนี้เองที่พระทุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามา เพราะตำนานเล่าว่า ประมาณปี พ.ศ.700 พระมหากัสสปะเถระได้อัญเชิญพระบรมธาตุรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) เบื้องซ้าย มายังนครโยนกนาคพันธุ์ พยาอชุตราช ซึ่งครองราชย์ต่อจากปฐมกษัตริย์สิงหนวัติจึงได้ทรงซื้อที่ดินบริเวณดอยแห่งหนึ่งจากปู่เจ้าลาวจก หัวหน้าเผ่าชาวละว้าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เชิงดอย เพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุ ก่อนสร้างโปรดให้ปักตุงผ้าขนาดใหญ่มีความยาวถึง 1,000 วา โดยถือว่าปลายตุงสะบัดไปถึงที่ใดก็ให้ถือเป็นขอบเขตของฐานสถูป แล้วจึงสร้างจนแล้วเสร็จ ถือว่าเป็นเจดีย์แห่งแรกของดินแดนล้านนา ดอยแห่งนี้ต่อมาจึงเรียกกันว่าดอยตุง และสถูปเจดีย์นั้นก็เรียกว่า พระธาตุดอยตุง
จากนั้นนครโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องมายาวนานกว่า 450 ปี จนกระทั่งถึงรัชกาลของพญามหาไชยชนะ กษัตริย์องค์ที่ 45 ของโยนกนาคพันธุ์ กาลอวสานก็มาถึง เมื่อวันหนึ่งชาวบ้านจับปลาไหลเผือกตัวโตเท่าลำตาล ยาวประมาณ 7 วาเศษ ได้จากแม่น้ำกก นำมาถวายพญามหาไชยชนะ พระองค์รับสั่งให้นำเนื้อไปแล่แจกจ่ายให้กับชาวเมืองทุกคน มีเพียงหญิงชราม่ายคนหนึ่งเท่านั้นที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อปลา ซึ่งสมัยก่อนจะถือว่าหญิงม่ายเป็นคนที่อยู่ในระดับต่ำ คล้าย ๆ จะเป็นกาลกิณี จึงไม่ให้กิน
ตกค่ำวันนั้นก็เกิดแผ่นดินสะเทือนเลือนลั่น เกิดเรื่องทันทีเลย เหมือนสวรรค์ลงโทษ เมืองทั้งเมืองพลันถล่มจมหายลงไป โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า กลายเป็นผืนน้ำกว้างใหญ่ไพศาล พระราชวงศ์ ขุนนาง และราษฎรทั้งหลายในเมืองสาบสูญไปหมดสิ้น หลงเหลือเพียงบ้านหญิงชราม่ายที่ไม่ได้ร่วมกินเนื้อปลาไหลเผือกเท่านั้น (ปัจจุบันป็นวัด)
ตำนานอธิบายว่าปลาไหลเผือกนั้น ก็คือพญานาคที่แปลงตัวมา การที่ชาวเมืองนำมาฆ่าแบ่งกันกิน ถือเป็นการเนรคุณพญานาคที่ช่วยสร้างบ้านแปลงเมือง จึงบันดาลให้เกิดภัยพิบัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวินิจฉัยว่า บริเวณเวียงหนองล่ม ยุคก่อนที่มนุษย์จะมาตั้งถิ่นฐานเคยเป็นปล่องภูเขาไฟระเบิด ซึ่งทางธรณีวิทยาคงเกิดปฏิกิริยาจากความร้อนใต้ผิวโลกบ่อยครั้ง ประกอบกับการพิจารณาการเกิดแผ่นดินไหวโดยดูจากการขยายตัวของ ปึ๋งนับแต่ พ.ศ.1000 ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นช่วงที่เมืองถล่ม จนถึงพ.ศ.2500 สรุปข้อสันนิษฐานได้ว่า พระเจ้าสิงหนวัติคงจะสร้างเมืองขึ้นบนแผ่นดินที่เกิดขึ้นบนพื้นน้ำที่ขังบนแอ่งใหญ่แห่งนี้
ปัจจุบันจากแผนที่ทางธรณีวิทยา พบรอยเลื่อน 2 รอยที่น่าจะส่งผลกระทบให้เมืองล่ม คือ
1.
รอยเลื่อนที่พาดยาวจาก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ผ่านตอนใต้ของแอ่งแม่สาย ผ่านเชียงแสน ไปยัง ม.โขง และเลยเข้าไปในประเทศลาว
2.
รอยเลื่อนที่พาดยาวจาก จ.แม่ฮ่องสอน ผ่านตอนเหนือของแอ่งเชียงใหม่ ต่อเนื่องกับตอนเหนือของแอ่งเชียงราย ไปบรรจบแนวที่ 1 บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเวียงหนองล่ม
โดยสรุป เมืองนี้ที่ล่มลงไป เนื่องจากสร้างเมืองลงบนพื้นที่ ๆ เป็น ปึ๋งที่เกิดอยู่กลางหนองน้ำที่อยู่ในปล่องภูเขาไฟเดิมซึ่งดับไปแล้ว ซึ่งปึ๋งนั้นเป็นพื้นที่ ๆ ไม่มั่นคงอยู่แล้ว ประกอบกับเมืองยังตั้งอยู่บนรอยเลื่อนสองแห่ง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมืองจึงล่มลงไป
พ.ศ.2536 โครงการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน กรมศิลปากร ขุดตรวจในบริเวณสำนักสงฆ์พุทธทศพลญาณ บน เกาะแม่ม่าย พบวัตถุโบราณเล็กน้อยสันนิษฐานว่าอยู่ในยุคหินใหม่ไม่เกินพุทธสตวรรษที่ 19 และพบว่าเวียงหนองล่มนั้นตั้งบนพื้นที่ ๆ เรียกว่า ปึ๋ง ตามที่กล่าวมาแล้ว จากการสำรวจพบการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ดังนี้
ที่มา:
บนบก ด้านตะวันตกของหนองน้ำ พบหลักฐานการสร้างศาสนสถานขนาดเนื้อที่ 5 ไร่ พบเครื่องมือยุคหินเก่าหินกลาง หินใหม่ สำริดเหล็ก และบริเวณโดยรอบพบโบราณวัตถุจำนวนมาก
ใต้หนองน้ำ ชาวบ้านเคยพบเสาไม้คล้ายเสาเรือนขนาดใหญ่ และเครื่งมืหีบน้ำอ้อย
พ.ศ. 2537 โครงการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน ได้ประสานโครงการโบราณคดีใต้น้ำนำนักประดาน้ำมาสำรวจ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเวียงหนองมีความกว้างใหญ่มาก
ปัจจุบันทางจังหวัดเชียงราย เตรียมพัฒนา เวียงหนองล่มฟื้นตำนานเมืองล่มจากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่บนรอยเลื่อนแม่จัน เมื่อ 1,500 ปีก่อน พร้อมดันขึ้นชั้นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม