ชื่อเมืองศรีเทพ ดูจะเป็นชื่อใหม่ของประวัติศาสตร์ชาติไทย.
เพราะมีการเอ่ยถึงไม่แพร่หลายนักเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆ
อย่างสุโขทัย ลพบุรี
เพชรบุรี นครราชสีมา และ นครศรีธรรมราช
ในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
มีบันทึกว่าในปี พ.ศ. 2100 พระยาละแวก เจ้ากรุงกัมพูชา
ยกทัพมาทางเมืองนครราชสีมา มาตีหัวเมืองชั้นใน ทางตะวันออก
ขณะนั้นพระนเรศวรฯเสด็จลงมาเฝ้าสมเด็จพระปิตุราชอยู่ที่อยุธยา
โปรดให้พระศรีถมอรัตน์ กับพระชัยบุรี
คุมพลไปซุ่มในดงพญากลาง
และพระนเรศวรเสด็จขึ้นไปยังเมืองชัยบาดาล
ยกกองทัพตีเขมรแตกพ่าย
ชื่อของ พระศรีถมอรัตน์ เป็นชื่อเดียวกับใน
ชื่อของ พระศรีถมอรัตน์ เป็นชื่อเดียวกับใน
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ซึ่งรวบรวมเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับเมืองเพชรบูรณ์ โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่ง
กล่าวถึงชื่อเมืองศรีเทพ ว่ามีชื่อปรากฏในทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมือง
ต่างๆที่ทางราชการให้คนเชิญ ตราไปบอกข่าวสิ้นรัชกาลที่
2
ยังเมือง
สระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพ และเมืองเพชรบูรณ์
จึงเป็นการยืนยันว่าเมืองศรีเทพ เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
โดยในช่วงหนึ่งจะมีชาวบ้านเรียกชื่อเมืองนี้ว่าเมืองอภัยสาลีและ
ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดคือ
พระศรีถมอรัตน์ เหมือนกับชื่อ
ในสมัยพระนเรศวร และชื่อนี้ยังเป็นชื่อภูเขาเล็กๆลูกหนึ่งที่ตั้ง
อยู่ในบริเวณเมือง คือเขาถมอรัตน์
เช่นกัน
เมืองศรีเทพ ที่ถูกซ่อนอยู่ในป่าทึบ เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่
เมืองศรีเทพ ที่ถูกซ่อนอยู่ในป่าทึบ เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่
มีอาณาเขตมากกว่า
2 พันไร่ มีภูมิทำเลที่ตั้งที่ถูกเลือก
อย่างชาญฉลาดจากผู้ปกครองเมืองในสมัยนั้น จะเห็นว่า
รอบอาณาบริเวณที่ตั้งของเมืองซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของอำเภอศรีเทพ
ในปัจจุบันเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักผืนใหญ่ มีเพียงเขาเล็กๆ
เพียงไม่กี่ลูกเท่านั้นในบริเวณนั้น พื้นที่เช่นนี้เหมาะสำหรับ
การเพาะปลูกสำหรับชาวเมือง โดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำป่าสัก
และแม่น้ำเล็กๆที่เป็นสาขาของแม่น้ำป่าสักในการยังชีพ
และขนส่งสินค้าไปต่างเมือง
จากแผนที่ยุทธศาสตร์ ครั้งรัชการของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
จากแผนที่ยุทธศาสตร์ ครั้งรัชการของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
จะเห็นว่า ที่ตั้งของเมืองศรีเทพ ( เขียนว่าสีเทพ)
ตั้งอยู่กึ่งกลาง
ของประเทศในสมัยนั้น เมืองนี้จึงเป็นศูนย์กลางการเดินทาง
จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และจากทิศเหนือไปทิศใต้
เมืองนี้จึงน่าจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางมาค้าขายของ
ชนชาติต่างๆ ดังจะเห็นจากประติมากรรมศิลปะ
ที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งเขมร
และ อินเดีย
เมืองศรีเทพต่างจากเมืองอื่นในลุ่มแม่น้ำภาคกลาง
เมืองศรีเทพต่างจากเมืองอื่นในลุ่มแม่น้ำภาคกลาง
ตรงที่ไม่ได้ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ
แต่อยู่ห่างจากแม่น้ำไปทาง
ทิศตะวันออกพอประมาณ เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก
ผู้ตั้งเมืองรู้ถึงธรรมชาติของพื้นที่ดีว่า ในฤดูน้ำหลากทุกปี
น้ำจะไหลบ่าลงมาจากทางเหนือและจะท่วมบ้านเมือง
หากตั้งอยู่ติดแม่น้ำ จะเห็นว่าแม้ในปัจจุบัน
( ก่อนการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) แม่น้ำป่าสักก็ยังคงท่วม
พื้นที่นี้ทุกปี
แต่แม้จะท่วมหนักสักเพียงใด ก็มาไม่ถึงที่ตั้ง
ของเมืองศรีเทพแห่งเก่านี้เลย
ความที่อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำ เมืองนี้จึงจำเป็นต้อง
ความที่อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำ เมืองนี้จึงจำเป็นต้อง
ขุดสระน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ให้ชาวเมืองได้ใช้ นี่คือเหตุผลที่เรา
พบเห็นสระน้ำมากกว่า
70 แห่งในเมืองโบราณที่ถูกค้นพบ
สระน้ำเหล่านี้จึงน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยเริ่มตั้งเมือง
จากการสำรวจ พบว่าเมืองนี้เป็นเมืองขนาดใหญ่
จากการสำรวจ พบว่าเมืองนี้เป็นเมืองขนาดใหญ่
มีคูน้ำรอบปราการเมือง
2 ชั้น
ภายในเมืองนอกจากสระน้ำ
ยังมีปรางค์
และ เทวสถาน ทั้งใน และรอบนอกเมือง
เมื่อมีการเปรียบเทียบงานศิลปะที่พบ และพิสูจน์อายุ
ของสิ่งก่อสร้างทางวิทยาศาสตร์
พบว่าอิฐ และไม้ที่คงอยู่
มีอายุราว
800 ถึง 1000
ปี
นับเป็นความโชคดีที่ เทวสถานส่วนใหญ่สร้างขึ้น
นับเป็นความโชคดีที่ เทวสถานส่วนใหญ่สร้างขึ้น
ด้วยหินและศิลาแลง แม้จะถูกทำลายด้วยกาลเวลา
แต่ก็ยังคงหลงเหลือบางส่วนให้เราได้รู้ว่า ครั้งหนึ่งปรากฏเมือง
นี้อยู่ในประเทศไทย หากจะลองคิดเปรียบเทียบช่วงเวลา
กับอายุของเมืองนี้
จะเห็นว่า หากเมืองนี้มีอายุ 800 ปีขึ้นไป
เมืองศรีเทพจะมีอายุมากกว่า กรุงศรีอยุธยา และสุโขทัย
จึงน่าจะอยู่ในสมัยก่อนหรือเริ่มต้นประวัติศาสตร์ ซึ่งก็สัมพันธ์
กับลักษณะของประติมากรรม ที่พบอันเป็นศิลปะในยุคของอารยะธรรมเขมร
และบางส่วนเป็นศิลปกรรมของ
อารยะธรรมทวาราวดี
ที่พลัดกันเข้ามามีอิทธิพลเหนือเมืองนี้
หากต้องการเดินทางไปเที่ยว เมืองศรีเทพอยู่ห่าง
หากต้องการเดินทางไปเที่ยว เมืองศรีเทพอยู่ห่าง
จากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ
130 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 21 เส้นสระบุรี-หล่มสัก
ถึงหลักกิโลเมตรที่
102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข
2211
ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทาง
เข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ
รถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ
ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต กรุงเทพฯ
มาลงที่ตลาด
อำเภอศรีเทพ
(บ้านกลาง) แล้วต่อรถรับจ้างเข้าสู่อุทยานฯ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน
เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท
ชาวต่างชาติ 30 บาท รถยนต์นำเข้าอุทยาน คันละ 50 บาท
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการติดต่อ
วิทยากรบรรยาย ติดต่อโดยตรงได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67170
โทร.
0 5682 0122, 0 5682 0123