กุศลกรรมบถ
หมายถึง ทางแห่งกรรมดี,ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ (wholesome
course of action) เป็นธรรมส่วนสุจริต 10
ประการ จึงเรียกชื่อว่า กุศลกรรมบถ 10
คำว่า
กรรมบถ (อ่านว่า กำมะบด) แปลว่า ทางแห่งกรรม คือ การกระทำที่เข้าทางเป็นกรรมหรือที่นับว่าเป็นกรรม
หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม คือการกระทำที่นับว่าเป็นความดีได้แก่
ที่เป็นกายกรรม
มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
ที่เป็นวจีกรรม มี 4 คือ
ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ที่เป็นมโนกรรม
มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามคลองธรรม
(สัมมาทิฐิ)
กุศลกรรมบถ
ก็คือสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจนั่นเอง
กุศลกรรมบถหมวดนี้
ในบาลีเรียกชื่อหลายอย่าง เช่นว่า ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรม - righteous conduct), โสไจย (ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว -- cleansing), อริยธรรม
(อารยธรรม, ธรรมของผู้เจริญ - virtues of a noble or
civilized man), อริยมรรค (มรรคาอันประเสริฐ - the noble
path), สัทธรรม (ธรรมดี, ธรรมแท้ - good
law; true law), สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ - qualities
of a good man)
กุศลกรรมบถ
10
ประพฤติดีด้วยกาย
3
ประเภท
ประพฤติดีด้วยกาย
นั้นชื่อว่า กายกรรม คือ ทำกิจการงานด้วยกายอย่าให้ทุกข์เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น กายกรรมที่ให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น
มี 3 ประการ
1.
คือ อย่าเบียดเบียนร่างกายของท่าน คือ
อย่าฆ่า อย่าฟัน อย่าทุบ อย่าตี ร่างกายของท่านผู้อื่นโดยที่สุด เว้นถึงสัตว์ติรัจฉานได้ยิ่งเป็นการดี
ตรงภาษาบาลีที่ว่า ปาณาติปาตาเวรมณี ฯ
2.
คือ อย่าเบียดเบียนทรัพย์สมบัติข้าวของของท่านผู้อื่น
คืออย่าลักขโมย อย่าฉ้อโกง อย่าเบียดบังเอาข้าวของของท่านผู้อื่น ตรงภาษาบาลที่ว่า
อทินฺนาทานาเวรมณี ฯ
3.
คือ อย่าแย่งชิงลักลอบด้วยอำนาจของกายในหญิงที่ท่านหวงห้าม
ตรงภาษาบาลีที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีฯ
ประพฤติดีด้วยวาจา
4
ประเภท
ประพฤติดีด้วยวาจา
4 ประเภท (วจีกรรม 4 ประเภท) นั้นได้แก่
1.
คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่สัตย์ที่จริง
ให้เว้นจากวาจาที่เท็จไม่จริงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า มุสาวาทา เวรมณี ฯ
2.
คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันสมานประสานสามัคคีให้ท่านดีต่อกัน
ให้เว้นวาจาส่อเสียดยุยงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ปิสุณายาวาจา เวรมณีฯ
3.
คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันอ่อนโยน
ให้เกิดความยินดีแก่ผู้ฟัง ให้งดเว้นวาจาที่หยาบคายขึ้นกูขึ้นมึง
บริภาษตัดพ้อหยาบคาย ให้ผู้ฟังได้รับความเดือดร้อนต่างๆ เสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า
ผรุสฺสาย วาจาย เวรมณี ฯ
4.
คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์
ให้เว้นวาจาที่เหลวไหล คือพูดเล่นหาประโยชน์มิได้เสีย ตรงกับภาษาลีที่ว่า
สมฺผปฺปลาปาวาจายเวรมณี ฯ
ประพฤติดีด้วยใจ
3
ประเภท
ประพฤติดีด้วยใจ
3 ประเภท (มโนกรรม 3 ประเภท) นั้นคือ
1.
คือ ให้ระวังเจตนากรรม
ให้สัมประยุตต์ด้วยเมตตาอยู่เสมอ คือ ความดำริของใจ อย่าให้ลุอำนาจแห่งโลภะ
คืออย่าเพ่งเอากิเลสกามและวัตถุกามของท่านผู้อื่น ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อนภิชฺฌา
โหติฯ
2.
คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วยกรุณาอยู่ทุกเมื่อ
อย่าให้โทสะ พยาบาท เข้าครอบงำได้ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อพฺพยาปาโท โหติฯ
3.
คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วย
มุทิตา อุเบกขา อยู่ทุกเมื่อ อย่าให้ไหลไปในทางผิด ให้เห็นตรงตามคลองธรรมทั้ง 10 นี้อยู่ทุกเมื่อ
ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า สมฺมทิฎฺฐิโก โหติฯ