ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

ยักษ์



ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน

ยักษ์ในความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ
ยักษ์จะมีหลายระดับขึ้นกับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูง จะมีวิมานเป็นทอง มีรูปร่างสวยงาม มีเครื่องประดับ มีรัศมี แต่ผิวจะดำ ดำอมเขียว อมเหลือง ดำแดงก็มี แต่ว่าดำเนียน มีอาหารทิพย์ มีบริวารคอยรับใช้ ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา ยักษ์ชั้นกลาง ส่วนใหญ่จะเป็นบริวารคอยรับใช้ของยักษ์ชั้นสูง ส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่าเกลียด ผมหยิก ตัวดำ ตาโปน ผิวหยาบ เหมือนกระดาษทราย นิสัยดุร้าย
ยักษ์เกิดได้ 3 แบบ คือ

    เกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
    เกิดแบบชลาพุชะ เกิดในครรภ์
    เกิดแบบสังเสทชะ เกิดในเหงื่อไคล

ที่อยู่ของยักษ์ มักอยู่ตามถ้ำ ตามเขา ในน้ำ ในดิน พื้นมนุษย์ ในอากาศ และมีวิมานอยู่ที่เขาสิเนรุในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกยักษ์จะอยู่ในการปกครองของท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวรมหาราชผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศเหนือ เหตุที่มาเกิดเป็นยักษ์เพราะทำบุญเจือด้วยความโกรธ มักหงุดหงิดรำคาญใจ
ยักษี
ยักษี หรือ ยักษิณี หรือ นางยักษ์ ogress หมายถึงยักษ์เพศหญิง ซึ่งมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมและตำนานต่างๆมากมายหลายเรื่อง ในเย น กาหนฺติ โอวาทํ พระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงนางยักษิณีว่า
    ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาหญิงเหล่านี้ เล้าโลม ชายด้วย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และด้วยมารยาหญิง กระทำให้อยู่ในอำนาจของตน เขาเรียกว่านางยักษิณี เพราะ เล้าโลมชายด้วยกรีดกราย ครั้นรู้ว่าชายนั้นตกอยู่ในอำนาจแล้ว ก็จะให้ถึงความพินาศแห่งศีล และความพินาศแห่งขนบประเพณี
ยักษิณีที่ปรากฏในตำนานและนิทานพื้นบ้านของไทยมีหลายเรื่อง ได้แก่

    นางยักษิณีเจ้ามารยา (เตลปตฺตชาตกํ)
    นางยักษิณี เมืองสิริสวัตถุ เกาะตามพปัณณิ (วลาหกัสสชาดกที่ 6)
    นางยักษิณี ในทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต
    นางยักษิณี ใน สานุสามเณร
    นางยักษิณีหน้าเหมือนม้า ใน ปทกุสลมาณวชาดก
    นางยักษิณีปุตนะใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
    นางสำมนักขา น้องสาวคนเดียวของทศกัณฐ์
    นางอากาศตะไลเสื้อเมืองกรุงลงกา รักษาด่านลงกาทางอากาศ
    นางผีเสื้อสมุทร รักษาด่านกรุงลงกาด้านหลังสมุทร
    นางอัศมุขี ยักษิณีมีหน้าคล้ายสัตว์
    นางผีเสื้อสมุทรในพระอภัยมณี[1]
    นางพันธุรัตน์ใน สังข์ทอง
    นางยักษ์สนธมาร ในพระรถ-เมรีหรือ นางสิบสอง
    นางยักษิณีผีเสื้อน้ำ ในเรื่องพระสุวรรณหงส์[2]
    ตำนานบุญข้าวสาก หรือ ตำนานสลากภัต[3]