จริยธรรม
หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา
ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด
หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว
มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ
กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา
หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ
จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า
กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ
หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย
จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก
จริยธรรมว่า Moral
philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
ศีลธรรม กฎศีลธรรม
ธรรมตามหลักในศาสนาพุทธ
คำว่า
ธรรม พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ
1.
ธรรมชาติ
2.
กฎของธรรมชาติ
3.
หน้าที่ตามกฎของธรรม
4.
การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
คำว่า
ธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ “สภาพที่ทรงไว้,
ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ,
ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์
ฯลฯ
ที่นำเอาความหมายของคำว่าธรรมที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้มาเสนอมากพอสมควรนี้
ก็เพื่อความเข้าใจคำว่าธรรม ให้มากขึ้น เพราะเป็นคำที่สำคัญที่สุดและคนทั่วไปมักจะเข้าใจเพียงมัวๆ
เท่านั้น
ธรรม
หรือสัจธรรม เป็นแม่บท เป็นฐานของทุกอย่าง ต่อจาก สัจธรรม ก็คือสิ่งที่เรียกว่า
จริยธรรม อันได้แก่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความดีงาม ซึ่งเป็นความจริงที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ความจริงของมนุษย์ต้องสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติ
จึงจะเกิดผลสำเร็จได้ด้วยดี
จากนั้นจึงจะมาถึงวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นรูปแบบหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นจริงตามที่มนุษย์ต้องการ
สัจธรรม
คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นภาวะของธรรมชาติ
จริยธรรม
คือข้อผูกพันที่โยงสัจธรรมนั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์
วัฒนธรรม
คือรูปแบบการปฏิบัติตามจริยธรรมที่ปรากฏในวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์