กุศล
แปลว่า ฉลาด,
สิ่งที่ตัดความชั่ว
กุศล
โดยทั่วไปใช้หมายถึงความดี,
ความงาม, สิ่งที่ดี นิยมใช้กับคำว่าบุญเป็น
บุญกุศล และคู่กับคำว่ากรรม เป็น กุศลกรรม ซึ่งมีความหมายว่าบุญ, ความดี, กรรมดีเหมือนกัน
"เกิดเป็นคนควรสร้างกุศลให้มากเข้าไว้แหละดี"
พระท่านเตือนสติมิให้ประมาทสร้างกุศลให้มากในที่นี้คือทำบุญไว้ให้มากนั่นเอง กุศลหรือบุญที่ควรทำคือ
ทาน ศีล ภาวนา หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นต้น
กุศล
ควรจะหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น
ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ
หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล
หากการกระทำดีนั้น
ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี
โดยทั่วไป
มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน
(เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร)
ตัวอย่าง
1. นาย
กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป
- อันนี้นาย
กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก
เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย
2. นาย
ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น
เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น
จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น
เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น
เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป
- อันนี้
นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น
และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง
และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา