1. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้
สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์)
ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์)
ความเพียร
4. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์)
ความอิ่มใจ
5. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
6. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์)
ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)
ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ
โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8) ทั้งนี้ พระสูตรและปาฐะที่เกี่ยวข้องกับโพชฌงค์ 7 โดยตรง
ได้แก่ มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ,
มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ,
มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ
โพชฌงค์คู่ปรับกับอนุสัย
ธรรมะที่เกี่ยวข้อง
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4
ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว
ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์
7 แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ”