ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

ประวัติโดยย่อของ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) จ.ชัยนาท


มีนามเดิมว่า กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน
 พ.ศ. ๒๔๔๘ ปีมะเส็ง ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ ๙ ต.บางขุด
 อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นบุตรของคุณพ่อ ตุ้ย ปั้นสน
 ซึ่งบ้านเดิมอยู่วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มารดาชื่อ
คุณแม่ต่วน เดชมา เป็นคนบ้าน แค ท่านทั้งสองมีบุตร
และธิดาด้วยกัน ๕ คน


คนที่ ๑ ชื่อนายตุ๊ ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
คนที่ ๒ ชื่อนายคาด ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
คนที่ ๓ ชื่อนายชื้น ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
คนที่ ๔ ชื่อนางนาค ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
คนที่ ๕ พระกวย ชุตินฺธโร (มรภาพเเล้ว)

เด็ก ชายกวย เมื่อโตขึ้นมา โยมบิดาได้ส่งมาเรียนหนังสือ
กับหลวงปู่ขวด วัดบ้านแค หลังจากหลวงปู่ขวดก็มรณภาพ
 บิดามารดาจึงได้นำเด็กชายกวยมาเรียนหนังสือขอมต่อ
กับอาจารย์ดำ วัดหัวเด่น ซึ่งใกล้ ๆ กับวัดบ้านแค หลังจากนั้น
ก็มาช่วยทางบ้านประกอบอาชีพ ทำไร่ไถนาตามประสาอาชีพ
ของทางครอบครัว

อุปสมบท

ต่อ มาเมื่อครบอายุบวช จึงเข้าอุปสมบท โดยมีพระอุปัชฌาย์
 คือ พระชัยนาทมุนี มีหลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็น
พระกรรมวาจาจารย์ เเละพระอาจารย์หริ่งเป็นอนุสาวนาจารย์
 เมื่อวันที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เวลา ๑๕ นาฬิกา
๑๗ นาที อายุ ๒๐ ปี ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี
 จ.ชัยนาท มีฉายาว่า ชุตินฺธโร แปลว่า "โลกนี้มีแต่ความ
วุ่นวายของโลก หนักไปด้วยกิเลส ตัณหาคือ โลภ โกรธ
 หลง ทั่งสิ้น ถ้าท่านผู้ใดตัดกิเลส ตัณหาได้ก็จะถึงซึ่งฝั่ง
พระนิพพาน"

ตำราในโพรงไม้

ต่อ มา ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗
ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน
อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท อีก ๑ พรรษา ได้เรียนแพทย์
แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และ
เรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ
ในขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีเพื่อน
ภิกษุชื่อ แจ่ม ได้เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุด
ข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมี
อาถรรพณ์แรงมาก คล้ายมีเทพและเทวดารักษา
จึงได้มาชักชวนพระกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำรา
อยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้
 ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้ พระภิกษุกวย
 จึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า
 "ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเอาตำรานี้ไปเก็บรักษาไว้
ขอธูปที่จุดนี้ให้ไหม้ให้หมดดอก" แต่ปรากฏว่าธูป
ได้ไหม้ไม่หมด พระภิกษุกวยจึงได้เสี่ยงสัตย์อธิษฐาน
ขึ้นมาใหม่ว่า "ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้า
เอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไป
ทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือ ประชาชนเท่านั้น"
 แล้วก็จุดธูปขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายปรากฏว่าธูปได้
ไหม้หมดทั้ง ๓ ดอก หลวงพ่อจึงได้กรวดน้ำ
อุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของตำราและอัญเชิญเอาตำรานั้นมา
 เก็บไว้ เกี่ยวกับตำรานี้ มีคำร่ำลือกันว่า ก่อนหน้านั้น
มีคน ๆ หนึ่งได้นำตำราชุดนี้มาเก็บไว้ในบ้าน
 ได้เกิดเหตุวิบัติ เจ็บไข้ล้มตาย จึงเอาตำราชุดนี้มาทิ้งไว้
ที่ดังกล่าว พระภิกษุกวย เมื่อได้ข่าวดังนั้นก็มาเปิดตำราดู
 ก็ปรากฏว่ามีลายลักษณ์อักษรบอกไว้ในตำราว่า
ตำรานี้ห้ามเอาไปไว้บ้านใคร ๆ ทั้งสิ้น มิฉะนั้นจะฉิบหาย
 ท่านจึงได้ศึกษาตำรายันต์และคาถาจากตำราเล่มนี้
 ปัจจุบันตำราเล่มนี้ยังอยู่ที่วัด หน้าปกเขียนว่า “ครูแรง”
ด้วยสีแดง นับว่าหลวงพ่อกวยท่านเป็นพระที่ได้ตำรา
เเบบเเปลกกว่าพระอื่นๆทั่วไป ส่วนพระภิกษุเเจ่ม
ที่เป็นคนพาหลวงพ่อไปเอาตำรานี้ภายหลังได้สึก
เเละผันชีวิต ไปเป็นอ้ายเสือ เรื่องตำรายันต์ที่หลวงพ่อ
คัดลอกและเรียนมานี้ ปัจจุบันบางส่วนยังอยู่ที่วัด
 บางส่วนอยู่ที่ศิษย์หลวงพ่อหลายๆท่าน
 เช่นที่อาจารย์เหวียน มณีนัย บ้านท่าทอง ต.ปากน้ำ
 อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี อยู่ที่วัดท่าทอง อยู่ที่อาจารย์โอภาส
หรือ(มรณภาพเเล้ว) วัดซับลำใย จ.ลพบุรี อยู่ที่อาจารย์แสวง
(มรณภาพเเล้ว) วัดหนอง อีดุก อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
ตำราเก่า สมุดบันทึก ตลอดจนของเก่าๆที่หลวงพ่อเก็บไว้
 บางอย่างท่านจะห่อปกด้วยกระดาษ เเละมักจะเขียน
ว่าห้ามทำสกปรก จะจับถือให้เบามือ เเสดงว่าหลวงพ่อ
ท่านเป็นคนรักของเเละมีระเบียบ หลวงพ่อไม่หวงของเเต่
ไม่ชอบให้ทิ้งขว้าง ตำรายาเเละเลขยันต์ต่างๆ
ที่ท่านได้จดบันทึกไว้ บางเล่มท่านจะเขียนหน้าปกไว้
 ว่า ห้ามหยิบ ห้ามจับ ครูเเรง บางเล่มจะเขียนสั่งว่า
 เปิดดูจุกตาย เป็นต้น

มรณภาพ
ใน เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อได้วงปฏิทิน
 วันที่ท่านเริ่มเจ็บเอาไว้ด้วยสีน้ำเงิน และวงปฏิทิน
 วันที่ท่านมรณภาพเอาไว้ด้วยตัวหนังสือสีแดง
 คือวันที่ ๑๑ มีนาคม และ ๑๑ เมษายน ๒๕๒๒
พร้อมทั้งเขียน พระคาถา นะโมตาบอด ให้ไว้เป็น
คาถาแคล้วคลาดและกำบัง หลวงพ่อเขียนว่า
 "อาตมาภาพพระกวย "
 นะตันโต นะโมตันติ ตันติ ตันโต นะโม ตันตัน"
จะมรณภาพ วันที่ ๑๑ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา
๕๕ นาที" พอวันที่ ๑๑ มีนาคม หลวงพ่อก็ล้มป่วย
 ไม่มีโรคอะไร เพียงแต่ไม่มีกำลัง ฉันอาหารไม่ได้
ไม่ยอมไปโรงพยาบาล มีอาการไข้แทรก
ฉันอาหารแทบไม่ได้เลย ไม่มีรสชาติ บางครั้งท่าน
พ่นข้าวออกจากปาก ไม่ยอมฉัน แล้วหยิบแผ่นตะกรุด
ขึ้นมาจาร บางครั้งก็จับสายสิญจน์ ปลุกเสกวัตถุมงคล
 กลางคืนก็จับสายสิญจน์ปลุกเสกวัตถุมงคล
บางคืนถึงสว่าง ร่างกายของท่านปกติก็ผอมมาก
อยู่แล้วกลับผอมหนักเข้าไปอีก วันที่ ๑๐ เมษายน
 กลางคืนมีศิษย์มาเฝ้าท่านเต็มไปหมด ตอนเช้ายิ่งมาก
 เพราะท่านจะมรณภาพ แต่ท่านก็ไม่มรณภาพ
ท่านผอมมากมีแต่หนังหุ้มกระดูก มีแต่ประกายตา
ที่สดใสเท่านั้น จนกระทั่งตกกลางคืนท่านก็ไม่มรณภาพ
 ค่อนสว่างวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๒ ทางกรรมการวัด
และศิษย์ใกล้ชิดได้ประชุมปรึกษากันว่า สงสัยในกุฏิท่าน
จะลงอาถรรพณ์เอาไว้ ตลอดจนตำราอักขระเลขยันต์
 ตลอดจนรูปครูบาอาจารย์ คงจะไม่มีใครกล้ามารับท่านแน่
 อยากเห็นท่านไปดี จึงปรึกษากัน นำท่านออกมา
ที่หอสวดมนต์ เมื่อเตรียมที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
อุ้มท่านมาจำวัดที่เตียงที่หอสวดมนต์ ท่านลืมตาขึ้น
เป็นการสั่งลา ครั้งสุดท้าย แล้วหลับตาพนมมือเกิดอัศจรรย์
 ระฆังใบใหญ่ที่หอสวดมนต์ได้ขาดตกลงมา
ดังหง่าง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ดังยาวนาน ศิษย์ที่อยู่ศาลาเข้าใจว่า
ท่านมรณภาพแล้ว จึงได้ตีระฆัง คือคาดว่ามีคนตีระฆัง
 เมื่อจับเวลาดู เป็นเวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที จับชีพจรท่าน
ดู ปรากฏว่าท่านมรณภาพแล้ว ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน
 ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยโบราณ
 ปัจจุบันทางวัดเเละเหล่าบรรดาศิษย์หลวงพ่อจึงยึดเอา
ในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญ ประจำปี
เพื่ออุทิศและระลึกถึงหลวงพ่อ จบประวัติของหลวงพ่อ
คร่าวๆเเต่เพียงเท่านี้ ขอให้หลวงพ่อคุ้มครองทุกท่านให้มี
แต่ความสุขความเจริญ ชีวิตไม่ตกต่ำเหมือนกับ
คำพรของหลวงพ่อ ที่เคยให้ไว้

"ขอศิษย์ทั้งหลาย จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก
 อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา"

หมาย เหตุ ข้อมูลต่างๆ เเกัไขเเละดัดเเปลงจาก
ข้อมูลของเก่าครูสมจิต(เฒ่า สุพรรณ)ที่เขียนไว้ใน
หนังสือนะโมเเละหนังสืออิทธิปาฎิหารย์หลวงพ่อกวย
เล่ม เเดงที่เขียนโดยครูสมจิต เเละจากการบอกเล่า
ของศิษย์รุ่นเก่าของหลวงพ่อ

ครูบาอาจารย์เเละวิชาอาคมของหลวงพ่อกวย

๑.หลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาว

หลวง พ่อเฒ่า เป็นพระอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่๔
ชื่อจริงคือ หลวงพ่อปั้น เเต่ชาวบ้านเรียกกันว่า
หลวงพ่อเฒ่า เป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกของวัดคังคาว
วัดนี้อยู่ไม่ไกลจากวัดหลวงพ่อกวย หลวงพ่อเฒ่านั้น
เป็นพระร่นพี่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ทั้งสองรูปได้ศึกษาวิชาจากตำราเดียวกัน เเละ
มีการเเลกเปลี่ยนวิชากันด้วยวัตถุมงคลที่สำคัญ
ของหลวงพ่อเฒ่า คือ ตะกรุดโทน ผ้าเเดง โดย
เฉพาะผ้ายันต์นั้น นับเป็นผืนเดียวในเมืองไทย
ที่มีการตัดอักขระขายเป็นตัว ผ้ายันต์ที่ว่านั้นคือ
 ผ้ายันต์ค่ายกล ซึ่งยังมีชื่อเรียกเเตกต่างออกไป
 เช่น ผ้ายันต์อาฬวกยักษ์ ผ้ายันต์จักรณีย์ เป็นต้น
 ลักษณะของผ้าจะเป็นตารางทั้งผืนโดยมีอักขระสี่ตัว
 อะปะจะคะ เดินสลับกันทั้งผืนเป็นค่ายกล ยันต์สี่ตัว
ของหลวงพ่อเฒ่านั้น มีหลายเกจิที่นำมาใช้สืบทอดต่อ
จากหลวงพ่อเฒ่า อาทิเช่น หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
 หลวงพ่อป่วน วัดโพธิ์งาม หลวงพ่อฉาบ วัดคลองจันทร์
 หลวงพ่อเจ้ย วัดห้วยเจริญสุข สำหรับหลวงพ่อกวยนั้น
ท่านเกิดไม่ทันหลวงพ่อเฒ่า เเละท่านก็สืบทอดยันต์นี้
โดยใช้จารเครื่องราง เเละทำผ้ายันต์ค่ายกลเเเบบ
หลวงพ่อเฒ่า มีทั้งเขียนมือเเละพิมพ์ หลักฐานคือ
 ยันต์ค่ายกลที่หลวงพ่อได้คัดลอกไว้ในตำรา
เเละสมุดบันทึกเก่าๆของท่าน

๒.หลวงศรี วัดพระปรางค์

หลวง พ่อศรีเป็นพระเกจิที่โด่งดังของจ.สิงห์บุรี
 มีลูกศิษย์มากมาย ที่ไปเรียนวิชากับท่านเเละ
มีชื่อเสียงอาทิเช่น หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
 หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ หลวงพ่อบัว
วัดเเสวงหา หลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา หลวงพ่อเเพ
วัดพิกุลทอง หลวงพ่อปรง วัดธรรมเจดีย์ หลวงพ่อเย็น
 วัดสระเปรียญ เป็นต้นหลวงพ่อกวยได้สร้างเเหวน
ตามตำรับของหลวงพ่อศรี โดยมีคาถาอิติอยู่ที่ใต้ท้อง
 เเละท่านก็ชอบใช้คาถาอิติจารเครื่องรางด้วย

๓.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา

หลวง พ่อไปเรียนวิชากับหลวงพ่ออิ่ม ได้วิชา เช่น
วิชามนต์จินดามณี การทำผงจินดามณี วิชามือยาว
 ศิษย์ร่วมสำนักที่โด่งดังคือ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
 ทั้งหลวงพ่อมุ่ยเเเละหลวงพ่อกวย ได้สร้างผ้ายันต์
โดยสืบทอดต่อจากของหลวงพ่ออิ่ม ซึ่งลักษณะ
รูปเเบบของผ้ายันต์จะดูคล้ายเเละตัวยันต์จะเหมือนกัน
 ผ้ายันต์ชนิดนี้ของหลวพ่อกวยจะเรียกว่า ผ้ายันต์
อิทธิเจหรือผ้ายันต์สารพัดดีสารพัดกัน

๔.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

ก่อนที่หลวงพ่อกวยจะเดินไปหาหลวงพ่อเดิมกับ
 ลุงหล่อน ก่อนหน้านี้ท่านก็เคยไปเรียนกับหลวงพ่อเดิม
มาบ้างเเล้ว ท่านเรียนวิชาทำมีดหมอ ตะกรุด เเละ
ปลุกเสกเครื่องรางจากหลวงพ่อเดิม โดยเฉพาะมีดหมอนี้
 ของหลวงพ่อกวยเเท้ๆนับเป็นมีดหมอที่หายาก
 เเละมีราคาเเพงรองจากของหลวงพ่อเดิมทีเดียว

๕.หลวงพ่อเเบน วัดเดิมบาง

หลวง พ่อได้เรียนวิชาทำผ้าขอดจากหลวงพ่อเเบน
 ผ้าขอดของหลวงพ่อกวยดังมากเเละก็หายากด้วยนอก
จากนี้ยังมี หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี หลวงพ่อโต
วัดวิหารทอง หลวงพ่อพวง วัดหนองกะโดน ซึ่งอาศัย
จากหลักฐานคือ บัยทึกที่ท่านได้เขียนเอาไว้
ระบุคาถาเเละเจ้าของยันต์ เเต่ไม่ทราบเเน่ชัดว่า
ท่านเรียนมาโดยตรงหรือเปล่า หรือรับทอดต่อมาจากใคร

๖.ฆราวาส

หลวงพ่อเคยเล่าให้หมอเฉลียว เดชมา ฟังว่า ท่านเรียน
วิชาเเผนโบราณจากครูฟุ้ง ครูจำปีซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อปาน
 วัดบางนมโค เรียนวิชาถอนของ ถอนคุณไสย เเละวิชา
สะเดาะกุมารในท้องนอกจากนี้ก็เรียนจากครูลุน ครูเพ็ง
 อาจารย์เเเหล่ม วัดท่าช้าง เป็นศิษย์สายหลวงพ่อกลั่น
วัดพระญาติ เรียนวิชาอาบว่านยา วิชาสัก วิชาหินเบา
 วิชาสักเเละอาบว่านยานี้ ทำให้หลวงพ่อโด่งดังมาก
ก่อนที่ท่านจะทำพระเเละเครื่องราง

๗.ตำรา ศักดิ์สิทธิ์จากโพรงไม้ เป็นตำราเก่าที่ภิกษุเเจ่มพา
หลวงพ่อไปเอาจากโพรงไม้ดังที่ได้กล่าวมาเเล้ว นอกจากนี้
 หลวงพ่อยังได้จดบันทึกยันต์จากหลวงพ่อต่างๆ ที่ท่านเห็นว่า
สวย ท่านจะคัดลอกเก็บไว้ หลักฐานคือ ในบันทึกเก่าๆของ
หลวงพ่อ มียันต์ต่างๆที่ท่านจดไว้มากมาย เเม้กระทั่งยันต์
ของเสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาจารย์ของท่านเจ้าคุณ
นรหลวงพ่อ ก็กวยท่านก็มี