ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

อาณาจักรศรีวิชัยโดยสังขาป



อาณาจักรศรีวิชัย  นี้เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้
 คือบริเวณที่เป็นแหลมมลายู  เดินนั้น 
ศาสดาจารย์ยอรซ์  เซเดส์  ได้อ่านศิลาจารึกวัดเสมา 
 เมืองนครศรีธรรมราช  พบคำว่าศรีวิชัย  จึงมีความเห็นว่า
  ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยนั้นอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง
  เกาะสุมาตรา  ประเทศอินเดีย  เจริญขึ้นในพุทธศตวรรษ
ที่  ๑๓-๑๔
               อาณาจักรแห่งนี้  จีนเรียกว่า  ชิลิโพชิ 
 หรือโฟชิ  หรือคันโทลี  หรือ  โคยิง  แต่  อาร์  วี  มาจุมดาร์
 นักประวัติศาสตร์นักโบราณคดีอินเดีย  มีความเห็นว่า
ศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยนี้ขึ้นอยู่บนเกาะชวา  แล้วต่อมา
ได้ย้ายมานครศรีธรรมราช  และควดริทซ์  เวลส์ 
นักประวัติศาสตร์อังกฤษว่าอาณาจักรศรีวิชัยนั้นตั้งอยู่ที่เมืองไชยา
  จังหวัดสุราษฎร์ธานี    ตรงกับความเห็นของ 
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ  รัชนี  ส่วนซึกโมโน  นักโบราณคดี
  อินโดนีเซียว่า  อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่เมืองจัมบี
หรือซัมพิ  ในเกาะสุมาตรา
               ด้วยเหตุนี้อาณาจักรศรีวัย  จึงปกครองในลักษณะ
สหพันธรัฐ  จึงมีศูนย์กลางสำคัญของอาณาจักร
อยู่หลายแห่งดังกล่าว  ดังนั้นเมืองสำคัญของศรีวิชัย
จึงมีอยู่ทั้งบนแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา  เช่น 
เมืองไชยา  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองปาเล็มบัง 
 และเมืองจัมบี  เป็นต้น  ดังนั้นการเดินทางติดต่อค้าขาย
ระหว่างเมืองในอาณาจักรแห่งนี้  จึงมีเส้นทางการเดินเรือ
ไปตามเมืองท่าสำคัญและทำให้การติดต่อกับพ่อค้าอินเดีย
ในสมัยอินดียโรมันด้วย  พบแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง
ในภาคใต้  ด้านฝั่งทะเลตะวันออก  จังหวัดชุมพร 
พบแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
 พบแหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาสที่อำเภอท่าชนะ 
 แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ที่อำเภอไชยา
               
สำหรับด้านฝั่งทะเลตะวันตก  จังหวัดพังงา 
 พบแหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก  คาบสมุทรมลายู 
 พบแหล่งโบราณคดีเปงกาลัน  บุจังที่รัฐเคดะห์ 
 แหล่งโบราณคดีที่กัวลาเซลิงซิง และบูกิต  แหล่งโบราณคดี
เตงกูเลมบู  พบโบราณวัตถุที่เป็นวัฒนธรรมของอินเดีย 
 แบบฝังสี  เหรียญอินเดียโบราณ  เป็นต้น
               ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปคาบมหาสมุทรมลายูนั้น
ได้พบกลองมโหระทึกในวัฒนธรรมดองซอนอยู่แพร่กระจาย
ตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ  นับว่าเป็นชุมชนการค้าหรือ
แหล่งค้าขายของชาวอินเดีย  ซึ่งศาสนาพราหมณ์และ
พุทธศาสนาเป็นหลัก  จนชุมชนเหล่านั้นได้รับเอศาสนานั้น
เข้าไปทำให้ชุมชนร่มเย็นเป็นสุขในที่สุด
               ต่อมาเมืออาณาจักรฟูนันล่มสลายลง
ในพุทธศตวรรษที่  ๑๑  นั้น  ดินแดนทางแหลมมาลายู
หรือแหลมทองนั้นมีการตั้งอาณาจักรศรีวิชัย 
สามารถควบคุมเส้นทางการค้าขายระหว่างจีน
กับอินเดียรวมทั้งอาหรับ  เปอร์เซียและยุโรปได้
              อาณาศรีวิชัยนี้มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองปาเล็มบัง
ในเกาะสุมาตราของ  อินโดนีเซียขึ้นขึ้นมาถึงบริเวณแหลมโพธิ์ 
 ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
และเมืองท่า  (ตามพรลิงค์หรือตำพะลิงค์) 
จังหวัดนครศรีธรรมราช
             การพบศิลาจารึกภาษามาเลย์เกี่ยวกับ
อาณาจักรศรีวิชัยที่วัดเสมาเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น
มีคำว่า  ศรีวิชัย  ส่วน  เมืองครห  ในสมัยศรีวิชัยนั้น   
เป็นเมืองท่าค้าพริก  ดีปลี  และพริกไทยเม็ด 
โดยมีต้นหมากต้นมะพร้าวอยู่มาก  แต่ยังมีความเชื่อ
อยู่ว่าเมืองครหิไม่น่าใช่เมืองไชยา  กล่าวคือ
เมืองไชยาเป็นสถานที่แห่งเดียวที่สุมาตรา 
 ทีสั่งซื้อมาให้อำมาตย์คลาในผู้ป่วยเมืองครหิ
ได้ทำการจัดการหล่อขึ้น  พ.ศ.  ๑๗๒๖  ตรงกับ
มหาศักราช  ๑๑๐๕  จึงมีข้อถกเถียงถึงว่า ที่สั่งขึ้นมา
ให้อำมาตย์คลาในผู้ครองเมืองครหิ  ได้ทำการหล่อขึ้นเมื่อ
พ.ศ.  ๑๗๒๖  ตรงกับมหาราช  ๑๑๐๕  จึงมีข้อถกเถียงว่าครหิ
นั้นเป็นการแสดงอำนาจทางเขมรหรือเกาะสุมาตรา 
ซึ่งนาจะเป็นครหิ  ที่เกิดขึ้นหลังอาณาจักรศรีวิชัย
ล่มสลายลงแล้วหรือไปขึ้นอยู่กับเมืองตาพรลิงค์ในพ.ศ.  ๑๗๐๐