ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

วัด, อาวาส หรือ อาราม



วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ

โพชฌงค์



โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
     1. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
     2. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม

กุศล



กุศล แปลว่า ฉลาด, สิ่งที่ตัดความชั่ว
กุศล โดยทั่วไปใช้หมายถึงความดี, ความงาม, สิ่งที่ดี นิยมใช้กับคำว่าบุญเป็น บุญกุศล และคู่กับคำว่ากรรม เป็น กุศลกรรม ซึ่งมีความหมายว่าบุญ, ความดี, กรรมดีเหมือนกัน

แสวงธรรมที่เขาเหมน นครศรีธรรมราช



สวัสดีครับท่านผู้เจริญธรรมทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งครับ ในครั้งนี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์การออกเดินทางไปแสวงหาความสงบของผมในครั้งนี้ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังเทือกเขาหลวง โดยมุ่งตรงไปยังเขาเหมน ดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และลี้ลับเป็นอย่างมากที่หนึ่ง โดยผมได้ออกเดินทางไปยังที่ ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ สภาพส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นค่อนข้างอุดมสมบูรณ์และมี

การบวช



การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช (อังกฤษ: ordinand)

กสิณ



กสิณ คือวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่า เพ่งอารมณ์ เป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ

ไตรภูมิพระร่วง



ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"
เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

ศีล



ศีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม
ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ

พระสงฆ์



พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้
พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรม

บาป



บาป หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตใจเสีย คือมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ใดล้วนเรียกว่าบาปทั้งสิ้น สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่
    ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    ลักทรัพย์
    ประพฤติผิดในกาม
    พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด

คชงู งูขาว ผู้ให้โชค



สวัสดีครับทุกท่าน และขออนุโมทนาบุญกุศลในทุกๆบุญของทุกท่านด้วย ไม่ได้เล่าเรื่องการเดินทางแสวงบุญเสียพักใหญ่ ในครั้งนี้ผมเพิ่งกลับมาจากการเดินทางไปแสวงหาธรรมตามรอยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นเสียงเรียกแห่งปลายด้ามขวาน โดยเดินทางไปยังพื้นที่จังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี จริงแล้วผมชอบเขาที่นั้นเหมือนกันนะครับธรรมชาติบริสุทธิ์สงบเงียบไม่มีใครรบกวนแต่แฝงไปด้วยอันตรายและสิ่งลี้ลับต่างๆ  ไว้ผมค่อยเล่าการเดินทางไปที่ 3

จริยธรรม



จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า

บุญ



บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข

ผี คือ



ตามความเชื่อและบันเทิงคดีแต่โบราณ ผี (อังกฤษ: ghost) เป็นวิญญาณ (soul) หรือสปิริต (spirit) ของคนหรือสัตว์ที่ตาย ซึ่งสามารถปรากฏให้คนเป็นเห็นได้ ไม่ว่าจะในรูปที่มองเห็นได้หรือสำแดงออกมาในรูปอื่น รายละเอียดการปรากฏตัวของผีมีหลากหลายมากตั้งแต่การแสดงตนแบบมองไม่เห็น ปรากฏเป็นรูปร่างบอบบางที่

สิงห์ หรือคชสีห์



คชสีห์  เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง คชสีห์มีพลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม คชสีห์มีลักษณะคล้ายสัตว์หิมพานต์ อีกชื่อหนึ่งชื่อทักทอ
             สิงห์ นับได้ว่าสัตว์ในป่าหิมพานต์ ส่วนใหญ่จัดอยู่ในหมวดสิงห์ คงเป็นเพราะสิงห์เป็นสัตว์ที่ดูสง่า และน่าเกรงขาม สิงในตำนานหิมพานต์ สามารถจำแนกออกได้ เป็นสองชนิดหลักๆ คือ ราชสีห์ และสิงห์ผสม ราชสีห์เป็นสัตว์ที่

มักกะลีผล



นารีผล หรือ มักกะลีผล เป็นพรรณไม้ตามความเชื่อจากตำนานป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกลูกเป็นหญิงสาว เมื่อผลสุกแล้ว บรรดา ฤๅษี กินร วิทยาธร คนธรรพ์ เอาไปเสพสังวาส
ตำนานการถือกำเนิด
ต้นกำเนิดของนารีผล ตำนานมีอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเวสันดรกับพระนางมัทรีพร้อมกับกัณหาและชาลีได้ถูกเนรเทศออกจากนครจึงเดินทางไปสู่ป่าหิมพานต์ และบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั้น

ภาพงานก่อสร้างเจดีย์ศรีทศพลบรมไตรโลกนาถล่าสุด

เป็นภาพการก่อสร้างเจดีย์ศรีทศพลบรมไตรโลกนาถล่าสุด ในส่วนของด้านในเจดีย์ เจดีย์องค์เล็กที่จะอยู่ด้านบนเจดีย์


ป่าหิมพานต์



ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขาหิมพานต์หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า หิมาลายาเป็นมีรากศัพท์จากภาษาสันสกฤตแปลว่าสถานที่ที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ เขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระคือ

เมืองลับแล



เมืองลับแลเป็นอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์แต่เดิมคงเป็นเมืองที่การเดินทาง ไปมาไม่สะดวก เส้นทางคดเคี้ยว ทำให้คนที่ไม่ชำนาญทางพลัดหลงได้ง่าย จนได้ชื่อว่าเมืองลับ แล ซึ่งแปลว่า มองไม่เห็น มีเรื่องเล่ากันว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึงเมืองลับแล

ครุฑ



ครุฑ (อังกฤษ: Garuda, สันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ
ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนก และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง

มรรค 8



  
  มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้    

อิทธิบาท



อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ

ฌาน



ฌาน (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก
ฌาน 2
ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
 อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4

นรกภูมิ



นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (บาลี: निरय, นิรย; สันสกฤต: नरक, นรก; จีน: 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; ญี่ปุ่น: 地獄, จิโกะกุ; แม่แบบ:Lang-bu, งาเย; มาเลย์: neraka /เนอรากา/) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษตามคำพิพากษาของมัจจุราช มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น นิรยะ ยมโลก มฤตยูโลก ฯลฯ

อริยสัจ 4



อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5