ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช








พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง
นครศรีธรรมราช เป็นต้นราชวงศ์ปทุมวงศ์ เป็นผู้สร้าง
เมืองนครศรีธรรมราช จากชุมชนเดิมซึ่งมีชื่อเรียกว่า
ตามพรลิงก์ บนหาดทรายแก้ว (บริเวณตำบลในเมือง
 อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน)
เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 17 จนกลายเป็นนครรัฐหรือ
เป็นอาณาจักรใหญ่ในคาบสมุทรไทย ก่อนที่จะเข้ารวมอยู่
ในราชอาณาจักรไทย สมัยกรุงศรีอยุธยาใน
ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 พระนามกษัตริย์ พระองค์นี้
ปรากฏอยู่ในหลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลายชิ้น
 เช่น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช และจารึก
ดงแม่นางเมือง (จารึกหลักที่ 35)

พระราชประวัติ

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราชตาม
ตำนานได้กล่าวเล่าขานกันว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
นั้นทรง เป็นชาวอินเดียที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
มาก่อน เมื่อได้มาสร้างบ้านเมืองใหม่ขึ้น ก็ได้นำเอา
พระพุทธศาสนาเข้ามา นอกจากนั้นยังได้นำเอาลัทธิ
ความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์เข้า มาด้วย แต่เนื่องจาก
วิธีการปฏิบัติทางโลกมากกว่าทางธรรมจึงทำให้
พิธีการของพราหมณ์ ซึ่งเป็นทางโลกส่วนมาก อธิเช่น
 นิติประเพณี ราชเพณี ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต
ของคนในดินแดนนี้มาก จึงทำให้ภาษาสันสกฤตซึ่ง
เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนาพราหมณ์ เช่น พระนามของ
พระองค์ คือ " ศรีธรรมาโศกราช " ก็เป็นภาษาสันสกฤตด้วย
 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช
ขึ้นราว ๆ พ.ศ. 1098 ในชั้นแรกคนทั่วไปไม่ได้เรียกว่า
 " นครศรีธรรมราช " อย่างเช่นในคัมภีร์บาลีเรียกว่า
 " พลิง" แต่ในชื่อเดียวกันนี้ ในศิลาจารึกเมืองไชยา
จะเรียก " ตามพรลิงก์ " มาตั้งแต่อดีตและเรียกขาน
จนมาถึงทุกวันนี้

พระราชกรณีกิจ
ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของนครศรีธรรมราชโบราณ
และได้เป็นผู้สร้างบ้านแปลงเมืองให้เป็นอาณาจักร
สำคัญในแหลมอินโดจีนได้ทรงสร้างเมือง
นครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. 1098
โดยสร้างกำแพงป้อมปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน
 ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์
ทำให้นครศรีธรรมราชเป็นมหานครใหญ่และ
มีอำนาจมาก มีเมืองขึ้น 12 หัวเมืองเรียกว่า 12 นักษัตร
 ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต โดยกำหนด
ให้ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราเมืองแต่ละเมือง
ได้ทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นบนหาดทรายแก้ว
 ซึ่งนับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญในสมัยต่อมา
ตราบจนปัจจุบัน