ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

ประวัติความเป็นมาของเมืองนครจัมปาศรีโดยย่อ



นครจัมปาศรีมีประวัติอันยาวนานนับเป็นพันปี และ
ได้ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จะเนื่องจาก
วิกฤตการณ์ หรือเหตุผล ใดก็ ไม่อาจจะทราบได้
 จะอย่างไรก็ตามก็ยังมีเค้าเงื่อนพอที่จะสอบค้นได้บ้าง
จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ
โดยเฉพาะอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้ง
นครจัมปาศรี มีโบราณสถานหลายแห่ง และมีโบราณวัตถุ
หลากหลายชนิด สามารถสอบค้นและเปรียบเทียบอายุ
สมัยลักษณะเผ่าพันธุ์ ตลอดจนการดำรงชีพ
ขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพชนในถิ่นแถบนี้
ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นตำราเอกสารอื่นๆ
พอที่จะอ้างอิงเทียบเคียงได้ด้วย
จากข้อสันนิษฐานของ อาจารย์สมชาย ลำดวน
ภาควิชาภาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุนยศาสตร์
 มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม
(มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) สันนิษฐานได้ว่า
วัดนครจัมปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ด้วยกันคือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800 นครจัมปาศรี
สมัยทวารวดีมีหลักฐานชี้นำให้เห็นเด่นชัดคือ
1. หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบจากกรุต่างๆ
ในเขตพื้นที่นครจัมปาศรี ทางด้านมนุษยวิทยาทางกายภาพ
จะเห็นว่าลักษณะพระพักต์และพระวรกายของพระพิมพ์
 เป็นชนพื้นเมืองสยามโบราณฉะนั้นคนที่เราอาศัยอยู่ใน
นครจัมปาศรีจึงเป็นเชื้อ ชาติสยามพื้นเมืองดึกดำบรรพ์
 นอกจากนั้นยังสังเกตพระพุทธศิลป์ร่วมสมัยกับพระพิมพ์
 แบบพระประถมทำขึ้นประมาณ พ.ศ. 950-1250
โดยจารึกอักษรคฤนต์ หรืออักษรขอมโบราณไว้ด้วย
พระพิมพ์ดินเผานาดูนปางประทานพรหรือ
ปางทรงแสดงธรรม บางองค์ที่ ขุดพบที่กรุพระธาตุ
ก็มีอักษรคฤนถ์ทั้งขีดและเขียนด้วยสีแดงจารึกไว้บนแผ่น
 หลังของพระพิมพ์เหมือนกัน อาจารย์สมชาย  ลำดวน
 ได้เรียนถาม ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ ราชบัณฑิตสถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คระมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
 (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) เกี่ยวกับอายุนครจัมปาศรี
ว่ามีอายุเก่าแก่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า " อันนี้เราต้องเทียนจาก
ศิลปะอินเดีย ก็เริ่มจากคุปตเริ่มแรก สำหรับที่
นครจัมปาศรีจะมีอายุระหว่าง 900 ถึง 1800 "
2. หลักฐานทางสถูปเจดีย์ ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ กล่าวว่า
เจดีย์ส่วนใหญ่ฐานนั้นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
สี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นมาจากฐานอุบลมณฑล
ซึ่งเป็นต้นแบบนิยมสร้าง กัน ในสมัยคลื่นที่ 3
ของพระพุทธศาสนา ( รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษ
ที่ 12 ถึง 13 )ที่เข้าสู่ประเทศสยามและนครจัมปาศรี
ก็ได้รับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ ด้วย