ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

ประวัติหลวงปู่ทวด



เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว หัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือกันมาว่า ทุกๆ สมัย  เกิดมีพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จ ๔ องค์ด้วยกัน  คือ
 ๑. สมเด็จเจ้าเกาะยอ
 ๒. สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
 ๓. สมเด็จเจ้าจอมทอง
 ๔. สมเด็จเจ้าพะโคะ
 แต่ ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง  ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น

"พระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์"จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ  ชาตะ วันศุกร์  เดือน  ๔  ปีมะโรง  ตรงกับ  พ.ศ.  ๒๑๒๕  บิดาชื่อตาหู  มารดาชื่อนางจันทร์  มีอายุมากแล้วจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่  และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์  ตำบลชุมพล  เมืองจะทิ้งพระ (อำเภอสะทิ้งพระ  จังหวัดสงขลา ในเวลานี้) 
 ตาหู  นางจันทร์ เป็นคนยากจนได้อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนาม สองสามีภรรยาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟ เนื่องจากการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ได้อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา  เพื่อช่วยเก็บข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย  ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้า  ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กันให้ลูกนอน  แล้วพากันลงนาเก็บเกี่ยวข้าวต่อไป  ขณะที่สองผัวเมียกำลังเก็บเกี่ยวข้าวอยู่นั้น นางจันทร์ได้เป็นห่วงลูกและได้เหลียวมามองที่เปล  ปรากฎว่ามีงูบองตัวโตกว่าปกติได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน  สองสามีภรรยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้นเพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียง ก็รีบพากันวิ่งมาดู  แต่ก็ไม่มีใครจะสามารถช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูง ขึ้น  ส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัวจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย
 ฝ่าย นายหูนางจันทร์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่  ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรน้อยของตนเลยจึงเกิดความสงสัย ว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตรบันดาล  คิดดังนั้นแล้วก็พากันหาดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชาและกราบ ไหว้งูใหญ่พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐานขอให้ลูกน้อยปลอดภัย  ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปลอันตรธานหายไปทันที  นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูทารกที่เปลปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับ เป็นปกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ลูกกระเดือกแก้วดวงนั้นมีสีแสง รุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสีสองสามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้ คหบดีเจ้าของบ้านทราบความจึงขอแก้วดวงนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตาหูนางจันทร์ก็ จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้นเมื่อได้แก้วพยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วต่อมาไม่ นานก็เกิดวิปริตให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดีจนไม่มีทางแก้ไขได้ จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพราะ ยึดดวงแก้วพยางูนั้นไว้จึงให้โทษและเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภรรยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้นปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มี ความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหาเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
 เมื่อ กาลล่วงมานานจนเจ้าปู่อายุ ๗ ปี บิดามารดาได้นำไปถวายสมภารจวงให้เรียนหนังสือ  ณ  วัดดีหลวง  เด็กชายปู่ศึกษาเล่าเรียนมีความเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าเพื่อนคนใด ๆ เมื่อเด็กชายปู่มีอายุ  ๑๕  ปี  สมภารจวงผู้เป็นอาจารย์ได้บวชให้เป็นสามเณร  ต่อมาท่านอาจารย์ได้นำไปฝากท่ารพระครูสัทธรรมรังสีให้เรียนหนังสือมูลกัจ จายน์ ณ วัดสีหยัง (วัดสีคูยัง  อ.ระโนด เวลานี้)
 สามเณรปู่เรียนมูล กัจจายน์อยู่กับท่านพระครูสัทธรรมรังสี ซึ่งคณะสงฆ์ส่งท่านมาจากกรุงศรีอยุธยาให้เป็นครูสอนวิชามูล ฯ ทางหัวเมืองฝ่ายใต้  ในสมัยนั้นมีพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนกันมากสามเณรปู่มีสติปัญญา เฉลียวฉลาดส่อนิสัยปราชญ์มาแต่กำเนิด  ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชามูล ฯ อยู่ไม่นานก็สำเร็จเป็นที่ชื่นชมของอาจารย์เป็นอย่างมาก  เมื่อสามเณรปู่เรียนจบวิชามูล ฯ แล้วได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียนต่อยังสำนักพระครูกาเดิม  ณ  วัดสีเมือง  เมืองนครศรีธรรมราช  เมื่อครบอายุบวชพระครูกาเดิมผู้เป็นอาจารย์จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธ ศาสนา ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า  "สามีราโม"  ณ  สถานที่คลองแห่งหนึ่งโดยเอาเรือ  ๔  ลำ  มาเทียบขนานเข้าเป็นแพทำญัติ ต่อมาคลองแห่งนั้นมีชื่อเรียกกันว่าคลองท่าแพจนบัดนี้
 พระภิกษุปู่เรียน ธรรมอยู่สำนักพระครูกาเดิม  ๓  ปี  ก็เรียนจบชั้นธรรมบทบริบูรณ์พระภิกษุปู่ได้กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดสีมา เมืองกลับภูมิลำเนาเดิม  ต่อมาได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระจะไปกรุง ศรีอยุธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีกเรือสำเภาใช้ใบแล่น ถึงเมืองนครศรีธรรมราช  นายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบกไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีชาวเรือ เดินทางไกลซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง  ๓  วัน  ๓  คืน  วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ฝนตกมืดฟ้ามัวดินคลื่นคนองเป็นคลั่งเรือจะแล่นต่อไปไม่ได้จึงลดใบทอดสมอสู้ คลื่นลมอยู่ถึง  ๓  วัน  ๓  คืน  จนพายุสงบเงียบลงเป็นปกติ  แต่เหตุการณืบนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมากเรพาะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง  คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารนายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้น ในเหตุการณ์ครั้งนั้นหาว่าเป็นเพราะพระภิกษุปู่พลอยอาศัยมาจึงทำให้เกิดเหตุ ร้ายซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาแต่ก่อนเลย  ผู้บันดาลโทสะย่อมไม่รู้จักผิดชอบฉันใดนายเรือคนนี้ก็ฉันนั้น  เขาจึงได้ไล่ให้พระภิกษุปู่ลงเรือใช้ให้ลูกเรือนำไปขึ้นฝั่งหมายจะปล่อยให้ ท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่พระภิกษุปู่ลงนั่งอยู่ในเรือเล็กท่านได้ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้ว บอกให้ลูกเรือคนนั้นตักน้ำขึ้นดื่มกินดู  ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้นจึงบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบพวกกะลาสีบนเรือใหญ่จึงพา กันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหาย  พากันอัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่มยิ่งนัก ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือจึงได้ดื่มน้ำพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่ จืดนั้นมีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียนนอกนั้นเป็นน้ำเค็ม ตามธรรมชาติของทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้นขึ้นบรรจุภาชนะไว้บน เรือจนเต็ม  นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านเป็นที่อัศจรรย์เช่นนั้นก็ เกิดความหวาดวิตกภัยภิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่านจึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้น บนเรือใหญ่แล้วพากันการบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำหยาบต่อท่านมาแล้ว และถอนสมอใช้ใบแล่นเรือต่อไปเป็นเวลาหลายวันหลายคืนโดยเรียบร้อย
 ขณะ เรือสำเภาถึงกรุงศรีอยุธยาเข้าจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้วนายอินทร์ได้นิมนต์ ท่านให้เข้าไปในเมืองแต่ท่านไม่ยอมเข้าเมือง ท่านปรารถนาจะอยู่  ณ  วัดนอกเมืองเพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบดีและได้ไปอาศัยอยู่  ณ  วัดราชานุวาส  ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองขณะนั้นพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา
 ใน สมัยนั้นประเทศลังกาอันมีพระเจ้าวัฏฏะคามินีครองราชเป็นเจ้าแผ่นดินมีพระ ประสงค์จะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ แต่พระองค์ไม่มีประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดการรบราฆ่าฟันและกันให้ประชาชนข้า แผ่นดินเดือดร้อนจึงมีนโยบายอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะประเทศอื่นโดยการ ท้าพนัน  พระองค์จึงตรัสสั่งให้พนักงานพระคลังเบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวงมอบให้ แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อเป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน  ๘๔,๐๐๐  เมล็ด  แล้วมอบให้แก่พราหนณ์ผู้เฒ่า  ๗  คน  พร้อมด้วยข้าวของอันมีค่าบรรทุกลงเรือสำเภา  ๗  ลำ  พร้อมด้วยพระราชสาส์นให้แก่พราหมณ์ทั้ง  ๗  นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุศรีอยุธยา  เมื่อเรือสำเภาจอดท่ากรุศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้ว  พราหมณ์ทั้ง  ๗ ได้พากันเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาและถวายสาส์น
 สมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาส์นความว่า  พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบ เรียงลำดับให้เสร์จภายใน  ๗  วัน  ถ้าแปลแและเรียบเรียงได้ทันกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอภวายข้าวของอันมีค่า ทั้ง  ๗  ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย  แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนดให้พระเจ้ากรุงไทย จัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นราชบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปีตลอดไป
 เมื่อ พระองค์ทรงทราบพระราชสาส์นอันมีข้อความดังนั้น  จึงทรงจัดสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระภิกษุ สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนด เมื่อประกาศไปแล้ว  ๖  วัน  ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้ พระองค์ทรงปริวิตกยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่ามีพระยา ช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตกขึ้นยืนอยู่บนพระแท่นในพระบรมมหาราชวังได้เปล่ง เสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ  ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้นและทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่า ประเทศชาติจะเสียอธิปไตยและเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพทรงพระวิตกกังวลไม่เป์ นอันบรรทมจนรุ่งสาง
 เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรงสั่งให้โหรหลวงเข้า เฝ้าโดยด่วนและทรงเล่าสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนายเพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดี ประการใด  เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดี แล้ว  ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมทูลว่าตามพระสุบินนิมิตนี้จะมีพระภิกษุหนุ่มรูป หนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ  พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศเมื่อพระองค์ ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง
 ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้น บังเอิญศรีธนญชัยไปพบพระภิกษุปู่ที่วัดราชานุวาส  ได้สนทนาปราศรัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ )  เพื่อศึกษาธรรม  ศรีธนญชัยเล่าเรื่องกรุงลังกาท้าพนันให้แปลธรรม  แล้วถามว่าท่านยังจะช่วยแปลได้หรือ  พระภิกษุปู่ตอบว่าถ้าไม่ลองก็ไม่รู้  ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ท่านเข้าเฝ้า  ณ  ที่ประชุมสงฆ์  ขณะที่พระภิกษุปู่ถึงประตูหน้าวิหาร  ท่านย่างก้าวขึ้นไปยืนเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง  ทันทีนั้นศิลาแลงได้หักออกเป็นสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง นัก เมื่อเข้าไปในพระวิหารพระทหากษัตริย์ตรัสสั่งพนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่ อันสมควร แต่ก่อนที่ท่านจะเข้านั่งที่แปลพระธรรมนั้นท่านได้แสดงกิริยาอาการเป็นปัญหา ธรรมต่อหน้าพราหมณ์ทั้ง  ๗  กล่าวคือ  ท่าแรกท่านนอนลงในท่าสีหะไสยาสน์  แล้วลุกขึ้นนั่งทรงกายตรงแล้วกะเถิบไปข้างหน้า  ๕  ที  แล้วลุกขึ้นเดินเข้าไปนั่งในที่อันสมควร  พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง  ๗  เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า  นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรมของพระบรมศาสดา อะไรจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลายครั้ง ท่านจึงหัวเราะ แล้วถามพรามณ์ว่า ประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาเช่นนี้บ้างหรือ ?  พราหมณ์เฒ่าฉงนใจก็นิ่งอยู่ ต่างนำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที
 เมื่อพระภิกษุปู่รับประเคน บาตรจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่งสงบจิตอธิษฐานแต่ในใจว่า ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อน และอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนครตลอดถึงเทวาอารักษ์ศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบัลดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่มาขัดขวางขอให้แปลพระธรรม คำสอนของพระพุทธองค์สำเร็จสมปรารถนาเถิด ครั้นแล้วท่านคว่ำบาตเททองเรี่ยราดลงบนพรมและนั่งคุยกับพราหมณ์ตามปกติ
 ด้วย อำนาจบารมีอภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาประกอบกับ โชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย  เทพยดาทั้งหลายจึงดลบันดาลเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับตัวอักษรโดยเรียบ ร้อยใน้วลานั้น  ชั่วครู่นั้นท่านก็ได้เหลียวกลับมาลงมือเรียบเรียงและแปลอักษรในเมล็ดทองคำ จำนวน  ๘๔,๐๐๐  เมล็ด  เป็นลำดับโดยสะดวกและไม่ติดขัดประการใดเลย  นับว่าโชคชะตาของประเทศชาติยังคงรุ่งเรืองสืบไป
 ขณะที่พระภิกษุปู่เรียง และแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไป  ๗  ตัว  คือตัว  สํ  วิ  ทา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ  ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์พราหมณ์ทั้ง  ๗  คนยอมจำนน  จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้แก่ท่านโดยดี  ปรากฏว่าพระภิกษุปู่แปลพระไตรปิฎกในเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์  เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้นและทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงปี่พาทย์ ประโคมพร้อมเสียงประชาชนโห่ร้องต้อนรับชัยชนะเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทั่วพระ นครศรีอยุธยาเป็นการฉลองชัย
 สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงพระโสมนัสยินดีเป็น ที่ยิ่งจึงตรัสสั่งถวายราชสมบัติให้พระภิกษุปู่ครอง  ๗  วัน  แต่ท่านไม่ยอมรับโดยไห้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณเพศไม่สมควรที่จะครองราชสมบัติ อันผิดกิจของสมณควรประพฤติ  พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงแต่งตั้งให้พระภิกษุปู่ ดำรงสมณศักดิ์ ทรงพระราชทานนามว่า  "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์"  ในเวลานั้น
 พระภิกษุปู่หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้ประจำพรรษา อยู่  ณ  วัดราชานุวาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาหลายปีด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมา  กาลนานมาปีหนึ่งในพระมหานครศรีอยุธยาเกิดโรคระบาดขึ้นร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรค 
ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก  ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งนักสมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มีนิยมใช้รักษา ป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมาก เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้และทรงระลึกถึงพระราชมุนี สามีรามคุณูปมาจารย์ขึ้นได้จึงตรัสสั่งให้ศรีธนญชัยไปนิมนต์ท่านมาเข้าเฝ้า ทรงปรารภในเรื่องทุกข์ร้อนของพลเมืองที่ได้รับทุกข์ยุกเข็ญด้วยโรคระบาดอยู่ ในขณะนี้  ท่านจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปพรมให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร  ปรากฏว่าโรคระบาดได้ทุเลาเหือดหายไปในไม่ช้าประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็น สุขตลอดมา  ในหลวงทรงพระปรีดาปราโมทย์เป็นอันมาก ทรงเคารพเลื่อมใสในองค์ท่านอย่างยิ่ง วันหนึ่งได้ทรงตรัสปรารภกับท่านว่า ต่อไปนี้หากพระคุณเจ้ามีความปรารถนาสิ่งอันใดขอนิมนต์ให้ทราบความปรารถนา นั้น ๆ จะทรงพระราชทานถวาย ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เกรงพระทัยเลย
 การล่วงมา นานประมาณว่า พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์มีวัยชราแล้ว วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงเกรงใจท่านไม่กล้านิมนต์ขอร้องแต่อย่างใด ได้พระราชทานอนุญาตตามความปรารถนาของท่าน  เมื่อพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์กลับภูมิลำเนาเดิมแล้วครั้งนั้ยปรากฏมี หลักฐานว่าไว้ว่าท่านเดินกลับทางบกธุดงค์โปรดสัตว์เรื่อยมาเป็นเวลาช้านาน  จนถึงวัดพระสิงห์บรรพตพะโคะตามแนวทางเดินที่ท่านเดินและพักแรมที่ใดต่อมาภาย หลังสถานที่ที่ท่านพักแรมนั้นเกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพบูชามาถึงบัดนี้ คือปรากฏว่าขณะที่ท่านพักแรมอยู่ที่บ้านโกฏิในอำเภอปากพนัง  เมื่อท่านเดินทางจากไปแล้วภายหลังประชาชนยังมีความเคารพเลื่อมใส่ท่านอยู่ มากจึงได้ชักชวนกันขุดดินพูนขึ้นเป็นเนินตรงกับที่ท่านพักแรมไว้เป็นที่ ระลึก รอบ ๆ เนินดินนั้นจึงเป็นคูน้ำล้อมรอบเนินและสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็เกิดเป็นสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์จนถึงบัดนี้
เมื่อท่านเดินทางมาถึงหัวลำภูใหญ่ในอำเภอหัว ไทรในเวลานี้เป็นสถานที่ที่มีหาดทรายขาวสะอาดต้นลำภูแผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่น เย็นสบาย  ท่านจึงอาศัยพักแรมอยู่ใต้ต้นลำภูนั้น ทำสมาธิวิปัสสนา ประชาชนในถิ่นนั้นได้พร้อมใจกันมากราบไหว้บูชาและฟังท่านแสดงธรรมอันเป็น หลักควรปฏิบัติของพระพุทธศาสนา  ต่อมาประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแรงกล้าจึงพร้อมใจกันสร้างศาลาถวายขึ้น หนึ่งหลังและท่านได้จากสถานที่นี้ไปนี้ต่อมาภายหลังไม่นานศาลาหลังนี้เกิด เป็นศาลาศักดิ์สิทธิ์ประชาชนชาวบ้านถิ่นนั้นและใกล้เคียงจึงชักชวนกันมาทำ พิธีสมโภชศาลาศักดิ์สิทธิ์หลังนั้นเป็นการระลึกถึงท่านถือเอาวันพฤหัสบดี เป็นวันพิธีชักชวนกันทำขนมโคมาบวงสรวงสมโภชทุกๆ วันพฤหัสฯ  เป็นประจำจนเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้
 เมื่อท่านจากหัวลำภูใหญ่เดิน ทางมาถึงบางค้อนท่านได้หยุดพักแรมพอหายเมื่อยล้าแล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงวัด พัทธสิงห์บรรพตพะโคะ หลังจากที่ท่านจากไปแล้วสถานที่บางค้อนก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏ มาจนบัดนี้
 พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือพระภิกษุปู่กลับถึงวัด พัทธสิงห์บรรพตพะโคะ  ครั้งนี้ประชาชนชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่  ประชาชนได้พร้อมใจกันขนานนามท่านขึ้นใหม่เรียกกันว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ต่อมาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะอันเป็นชื่อเดิมก็ถูก เรียกย่อ ๆ เสียใหม่ว่า "วัดพะโคะ"จนกระทั่งบัดนี้
 ตามตำนานกล่าวไว้ว่า  วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะนี้มีพระอรหันต์  ๓  องค์  เป็นผู้สร้างขึ้น  คือ
๑. พระนาไรมุ้ย
 ๒. พระมหาอโนมทัสสี
 ๓. พระธรรมกาวา
 ต่อ มาพระมหาอโนมทัสสีได้เดินทางไปประเทศอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระบรม ศาสลับมา พระยาธรรมรังคัลเจ้าเมือง "จะทิ้งพระ" ในสมัยนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธา จัดการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่สูงถึง  ๒๐  วา  ขึ้นถวายแล้วทำพิธีสมโภชบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเจดีย์องค์นั้นและคง มีปรากฏอยู่จนบัดนี้
 ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุ ณูปมาจารย์ได้หยุดพักผ่อนนานพอสมควร ท่านได้ตรวจดูเห็นปูชนียสถานและกุฏิวิหารเก่าแก่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมากควร จะบูรณะซ่อมแซมเสียใหม่  ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหา ธรรมราชาอีกวาระหนึ่ง (ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าท่านไปทางบกหรือไปทางน้ำ) เมื่อได้สนทนาถามสุขทุกข์กันแล้ว ท่านก็ทูลถวายพระพรพระองค์ตามความปรารถนาที่จะบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดให้ พระองค์ทรงทราบ  ครั้นได้ทราบจุดประสงค์ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสร่วมอนุโมทนาด้วย จึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถพระเจ้าลูกยาเธอ  จัดการเบิกเงินในท้องพระคลังหลวงมอบถวาย และจัดหาศิลาแลงบรรทุกเรือสำเภา  ๗  ลำ  พร้อมด้วยนายช่างหลวงหลายนาย  มอบหมายให้ท่านนำกลับไปดำเนินงานตามความปรารถนาปรากฏว่าท่านได้ทำการบูรณะ ซ่อมแซมและปลูกสร้าง (วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ) อยู่หลายปีจึงสำเร็จบริบูรณ์
           สมเด็จพระเจ้าพะโคะ  เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชายังกรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่งปรากฏว่าพระองค์ ทรงเลื่อมใสเคารพต่อท่านเป็นยิ่งนัก  ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระทานที่ดินนาถวายแก่ท่านเป็นกัลปนา  ขึ้นแก่วัดพัทสิงห์บรรพตพะโคะ  จำนวน ๙๐ ฟ้อน  พร้อมด้วยประชาราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตที่ดินนั้น  มีอาณาเขตติดต่อ  โดยถือเอาวัดพัทธสีห์บรรพตพะโคะเป็นศูนย์กลางดังนี้
           ๑.  ทางทิศเหนือ  ตั้งแต่แหลมชุมพุกเข้ามา
           ๒.  ทางทิศใต้  ตั้งแต่แหลมสนเข้ามา
           ๓.  ทางทิศตะวันออก  จดทะเลจีนเข้ามา
           ๔.  ทางทิศตะวันตก  จดทะเลสาบเข้ามา
          ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะกลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ
ครั้ง นี้คาดคะเนว่าท่านมีอายุกาลถึง  ๘๐  ปีเศษอยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์ประจำตัว  ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น  ๓  คด  ชาวบ้านเรียกว่าไม้เท้า  ๓  คด  ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังฝั่งทะเลจีน  และขณะที่ท่านเดินเล่นรับอากาศทะเลอยู่นั้น  ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลี่ยบชายฝั่งมา  พวกโจรสลัดจีนเห็นสมเด็จเดินอยู่  คิดเห็นว่าเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ  พวกโจรจึงแวะเรือเข้าขึ้นฝัง  นำเอาท่านลงเรือไป  เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน  เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น  คือเรือลำนั้นจะแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่  พวกโจรจีนได้พยายามแก้ไขจนหมดความสามารถ  เรือก็ยังไม่เคลื่อนจึงได้จอดเรือนิ่งอยู่  ณ  ที่นั่นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน  ที่สุดน้ำจืดที่ลำเลียงมาบริโภคในเรือก็ได้หมดสิ้นจึงขาดน้ำดื่มและหุงต้ม อาหาร  พากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยการกระหายน้ำเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จท่านสังเกตเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกเรือถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล  ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกจีนไปเมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากผิวน้ำทะเล แล้วก็สั่งให้พวกโจรจีนตักน้ำตรงนั้นขึ้นมาดื่มชิมดู  พวกจีนแม้ไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ ยิ่งนัก พวกโจรสลัดจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้นก็พากันหวาดเกรง ภัยที่จะเกิดแก้พวกเขาต่อไปจึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วพาท่านล่องเรือ ส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
 เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะขึ้นจากเรือเดินกลับวัดถึง ที่แห่งหนึ่ง ท่านหยุดพักเหนื่อยได้เอาไม้เท้า  ๓  คด พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน  ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้นลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนสภาพจากเดิม กลับคด ๆ  งอ ๆ  แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่า  ต้นยางไม้เท้า ยังมีปรากฏอยู่ถึงเวลานี้
 สม เด็จพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ครองสมณเพศจำพรรษาอยู่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์    บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนได้ ตลอดมา
 ตอนนี้ได้รับความกรุณาจากพระอุปัชฌาย์ดำ  ติสฺสโร สำนักวัดศิลาลอย  อำเภอจะทิ้งพระเป็นผู้เล่าตามนิยายต่อกันมา  โดยท่านพระครูวิริยานุรักษ์  วัดตานีสโมสรเป็นผู้บันทึกความดังต่อไปนี้
 ใน สมัยสมเด็จเจ้าพะโคะพำนักอยู่วัดพะโคะครั้งนั้นยังมีสามเณรน้อยรูปหนึ่งเข้า ใจว่าคงอาศัยอยู่วัดใดวัดหนึ่งในท้องที่อำเภอหาดใหญ่เวลานี้  สามเณรรูปนี้ได้บวชมาแต่อายุน้อย ๆ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมีความขยันหมั่นเพียรก่อแต่การกุศลในพระพุทธ ศาสนาและตั้งจิตอธิษฐานจะขอพบพระศรีอริยะอย่างแรงกล้า  อยู่มาคืนหนึ่งมีคนแก่ถือดอกไม้เดินเข้ามาหาแล้วประเคนดอกไม้ส่งให้แล้วบอก ว่า  นี่เป็นดอกไม้ทิพย์ไม่รู้จักร่วงโรยพร้อยกับกล่าวว่า  พระศรีอริยะโพธิสัตว์นั้นขณะนี้ได้จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์เพื่อโปรดสัตว์ ในพระพุทธศาสนาสามเณรเจ้าจงถือดอกไม้ทิพย์นี้ออกค้นหาเถิดหากผู้ใดรู้จัก กำเนิดของดอกไม้แล้วผู้นั้นแหละเป็นพระศรีอริยะที่จุติมา เจ้าจงพยายามเที่ยวค้นหาคงจะพบเมื่อกล่าวจบแล้วคนแก่นั้นก็อันตรธานหายไป ทันที
 สมาเณรน้อยมีความปิติยินดีเป็นยิ่งนักวันรุ่งเช้าจึงกราบลาสมภาร เจ้าอาวาสถือดอกไม้ทิพย์เดินออกจากวัดไป  สามเณรเดินทางตรากตรำลำบากไปทั่วทุกหนทุกแห่งก็ไม่มีใครทักถามถึงดอกไม้ ทิพย์ที่ตนถืออยู่นั้นเลยแต่สามเณรก็พยายามอดทนต่อความเหนื่อยยากต้องตาก แดดกรำฝนไปเป็นเวลาช้านาน  วันหนึ่งต่อมาสามเณรน้อยเดินทางเข้าเขตวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะในเวลาใกล้จะ มืดค่ำเป็นวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  พระจันทร์เต็มดวงส่องรัศมีจ้าไปทั่วท้องฟ้าและเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ลงทำ สังฆกรรมในอุโบสถ สามเณรถือดอกไม้ทิพย์เดินเข้าไปยืนถือดอกไม้ทิพย์อยู่ริมอุโบสถรอคอยพระสงฆ์ ที่จะลงมาอุโบสถ พอถึงเวลาพระภิกษุทั้งหลายก็เดินทะยอยกันเข้าอุโบสถผ่านหน้าสามเณรไปจนหมด ไม่มีพระภิกษุองค์ใดทักสามเณรเลย  เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งในอุโบสถเรียบร้อยแล้วสามเณรจึงเดินเข้าไปนมัสการถาม พระสงฆ์เหล่านั้นว่า  วันนี้พระมาลงอุโบสถหมดแล้วหรือ พระภิกษุตอบว่า ยังมีสมเด็จอยู่อีกองค์วันนี้ไม่มาลงอุโบสถ สามเณรทราบดังนั้นก็กราบลาพระสงฆ์เหล่านั้นเดินออกจากอุโบสถมุ่งตรงไปยัง กุฏิของสมเด็จเจ้าฯ ทันที
 ครั้นถึงสามเณรก็คลานเข้าไปใกล้ก้มกราบ นมัสการท่านอยู่ตรงหน้าสมเด็จเจ้าฯ  สมเด็จเจ้าฯ ได้ประสพดอกไม้ในมือสามเณรถืออยู่  จึงถามสามเณรว่า  นั่นดอกไม้ทิพย์เป็นดอกไม้เมืองสวรรค์ผู้ใดให้เจ้ามา  สามเณรรู้แจ้งใจตามที่นิมิตจึงคลานเข้าไปก้มลงกราบที่ฝ่าเท้าแล้วประเคน ดอกไม้ทิพย์นั้นแก่สมเด็จเจ้าฯ ทันที  เมื่อสมเด็จเจ้าฯ รับประเคนดอกไม้ทิพย์จาดสามเณรน้อยแล้วท่านได้สงบอารมณ์อยู่ชั่วครู่มิได้ พูดจาประการใด  แล้วลุกขึ้นเรียกสามเณรเดินตรงเข้าไปในกุฏิปิดประตูลงกลอนและเงียบหายไปใน คืนนั้น  มิได้มีร่องรอยแต่อย่างใดเหลือไว้ให้พิสูจน์จนเวลาล่วงเลยมาบัดนี้ประมาณสาม ร้อยปีเศษแล้ว
 การหายตัวไปของสมเด็จเจ้าพะโคะครั้งนั้นประชาชนเล่าลือ กันว่าท่านได้สำเร็จสู่สวรรค์ไปเสียแล้วด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารท่าน แรงกล้า  ตามที่กล่าวลือกันเช่นนี้เพราะมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้นในคืนนั้นว่าบนอากาศ บริเวณวัดพะโคะ ได้มีดวงไฟโตขนาดเท่าดวงไต้ส่องรัศมีต่าง ๆ เป็นปริมณฑลดังพระจันทร์ทรงกลดลอยวนเวียนรอบบริเวณวัดพะโคะส่องรัศมีจ้าไป ทั่วบริเวณวัดเมื่อดวงไฟดวงนั้นลอยวนเวียนอยู่ครบสามรอบแล้วลอยเคลื่อนไปทาง ทิศอาคเนย์เงียบหายมาจนกระทั่งบัดนี้
 วันรุ่งเช้าประชาชนมาร่วมประชุม กันที่วัดและต่างคนต่างก็เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าฯ ท่านสำเร็จสู่สวรรค์ไปจึงได้พากันพนมมือขึ้นเหนือศรีษะพร้อมกับเปล่งเสียง ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะโล่ไปเสียแล้วเจ้าข้าเอย  เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฯ ท่านได้ทิ้งของสำคัญไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตลอดมาคือ
  ๑. ดวงแก้วที่พระยางูใหญ่ให้ครั้งเป็นทารกอยู่ในเปล  ๑  ดวง  และสมภารทุกๆ องค์ของวัดพะโคะได้  เก็บรักษาไว้จนถึงบัดนี้ปรากฏว่า  แก้วดวงนี้ไม่มีใครกล้านำออกจากบริเวณวัดพะโคะเพราะเกรงจะเกิดภัย
 ๒. ก่อนที่สมเด็จเจ้าฯ จะโล่หายไปปรากฏว่าท่านได้ขึ้นไปทำสมาธิอยู่บนชะง่อนผาภูเขาบาท  ได้เอาเท้าซ้ายเหยียบลงบนลาดผาลึกเป็นรอยเท้าเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน มาจนกระทั่งบัดนี้ (ท่านพระครูวิสัยโสภณวัดช้างให้ได้ไปนมัสการมาแล้ว)
 สมัย ที่สมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะ  ตำบลชุมพล  อำเภอจะทิ้งพระ  จังหวัดสงขลา  ครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งปรากฏตัวขึ้นที่เมืองรัฐไทรบุรีเวลานี้ พระภิกษุรูปนี้เป็นปราชญ์ทางธรรมและเชี่ยวชาญทางอิทธิอภินิหารเป็นยอดเยี่ยม ชาวเมืองไทรบุรีมีความเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่งสมัยนั้นคนมลายูในเมืองไทรบุรีนับถือศาสนาพุทธ  ต่อมาท่านก็ได้เป็นสมภารเจ้าวัดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น
          มีเรื่องชวนคิดอยู่ว่า  พระภิกษุชรารูปนี้ไม่มีประชาชนคนใดจะทราบได้ว่า  ท่านชื่ออย่างไร  ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ไหน  ก็ไม่มีใครซักถาม  จึงพากันขนานนาม เรียกกันว่า  " ท่าน  ลังกาองค์ดำ "  ท่านปกครองวัดด้วยอำนาจธรรมและอภินิหารอย่างยอดเยี่ยม  เป็นที่พึ่งทางธรรมปฏิบัติและการเจ็บไข้ได้ทุกข์ของประชาชน  ด้วยความเมตตาธรรม  ประชาชนเพิ่มความเคารพเลื่อมใสท่านตลอดถึงพระยาแก้มดำ  เจ้าเมืองไทรบุรีสมัยนั้น  และท่านมีความสุขตลอดมา  ( ท่านลังกาองค์นี้จะเป็นเจ้าพะโคะใช่หรือไม่  ขอให้อ่านต่อไป ) 
          เมื่อข้าพเจ้าผู้เขียนยังหนุ่มๆ  หรือประมาณ ๔๕ ปีมาแล้ว  ได้อ่านหนังสือตำนานเมืองปัตตานี  ซึ่งรวบรวมโดยคุณพระศรีบุรีรัฐ  ( สิทธิ์  ณ  สงขลา )  นายอำเภอชั้นลายครามของอำเภอยะหริ่ง  เรียบเรียง  มีข้อความตอนหนึ่งว่าสมัยนั้นพระยาแก้มดำ  เจ้าเมืองไทรบุรีปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมืองให้  เจ๊ะสิตีน้องสาวครอบครอง  เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา  ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดิน ป่าหรือเรียกว่าช้างอุปการ  เพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง  ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน  วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่  ณ  ที่ป่าแห่งหนึ่ง  ( ที่วัดช้างให้เวลานี้ )  แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น  ๓  ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง  ณ  ที่ตรงนี้  แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ  พี่ชายก็อธิฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป  ได้เดินรอนแรมหลายวัน  เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวาร  น้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น  บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง  วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น  จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ลอมจับกระจงตัวนั้น  ได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล  ( ที่ตำบล     กือเซะเวลานี้ )  ทันใดนั้น  กระจงก็ได้อันตรธานหายไป  นางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบที่ตรงนี้มาก  จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้
          เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว  และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว  ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า  เมืองปะตานี  ( ปัตตานี )  ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก  ก็รู้สึกเสียดายสถานที่  จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า  และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า  วัดช้างให้มาจนบัดนี้  ต่อมาพระยาแก้มดำ  ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้แก่ท่านลังกาครอบครองอีกวัดหนึ่ง
 พระ ภิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมาอยู่ วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา  ขณะที่ท่านลังกาพำนักอยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรีวันหนึ่งอุบาสก  อุบาสิกา  และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้าท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ  ณ  วัดช้างให้ด้วยและขณะหามศพพักแรมนั้น  ณ  ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้าง หน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์  อยู่มาไม่นานท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราคณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้ จัดการตามที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อทำการฌาปณกิจศพท่านเรียบร้อย แล้วคณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อยนำกลับไปทำสถูปที่ วัด  ณ  เมืองไทรบุรีไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดจนบัดนี้สมเด็จเจ้าพะโคะกับท่านช้างให้ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดนี้สมัยท่านยังมีชีวิตมีชื่อที่ใช้เรียกท่าน หลายชื่อเช่น  พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์  ท่านลังกา  และท่านช้างให้  แต่เมื่อท่านมรณภาพแล้วเรียกเขื่อนหรือสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของท่าน ว่า  "เขื่อนท่านช้างให้"  แต่ต่อมาปี พ.ศ.  ๒๔๙๗ ได้มีการสร้างพระเครื่องต่างองค์ท่านให้ชื่อว่า  ท่านช้างให้  แต่ท่านไม่เอาท่านบอกให้ชื่อว่า  "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด"  ดังมีเรื่องกล่าวต่อไปนี้
 ๑. ก่อนที่เขื่อนหรือสถูปจะปรากฏความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นครั้งแรก  เล่าต่อๆ กันมาว่ามีเด็กชายลูกชาวบ้านคนหนึ่งพ่อเขาไล่ตี  เด็กคนนั้นวิ่หนีเข้าไปในบริเวณวัดช้างให้แล้หายตัวไปซึ่งขณะนั้นเป็นวัด ร้าง เมื่อพ่อของเด็กไล่ตามเข้าไปในวัดก็มิได้เห็นตัวเด็ก เขาได้ค้นหาจนอ่อนใจก็ไม่พบจึงกลับบ้านชวนเพื่อนบ้านช่วยกันค้นหา  ขณะที่พวกชาวบ้านผ่านเข้าเขตวัดก็เห็นเด็กนั้นเดินยิ้มเข้ามาหาและหัวเราะ พูดขึ้นว่า  พ่อของมันดุร้ายไล่ทุบตีลูกไม่มีความสงสารกูเห็นแล้วอดสงสารไม่ได้จึงเอามัน ไปซ่อนไว้  พวกชาวบ้านก็ตื่นตกงกงันเพราะเด็กนั้นพูดแปลกหูผู้ฟังเป็นเสียงของคนแก่แต่ เด็กพูดต่อไปว่า  พวกสูไม่รู้จักกูหรือ กูชื่อท่านเหยียบน้ำทะเลจืดผู้ศักดิ์สิทธิ์เจ้าของเขื่อนนี้ (สถูป)  พวกสูจะลองดีก็จงเอาน้ำเกลือใส่อ่างมากูจะทำให้ดู  มีชาวบ้านผู้หนึ่งปฏิบัติตามคำสั่งนั้น  เด็กชายนั้นก็ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำเกลือในอ่างทันทีและบอกให้ชาวบ้านชิมน้ำ เกลือนั้นดู ได้ประจักษ์ว่าน้ำนั้นมีรสจืดเป็นน้ำบ่อเป็นที่อัศจรรย์นัก  เด็กนั้นพูดอีกว่า  พวกสูยังไม่เชื่อกูก็ให้ก่อไฟขึ้น  ชาวบ้านก็ทำตาม  ขณะกองไฟลุกโชนเป็นถ่านแดงดีแล้วเด็กประทับทรงท่านเหยียบน้ำทะเลจืดก็กระโดด เข้าไปยืนอยู่ในกลางกองไฟอันร้อนแรง  ยิ้มแล้วถามว่าสูเชื่อหรือยัง พ่อของเด็กตกใจเกรงลูกจะเป็นอันตรายจึงก้มลงกราบไหว้ขอโทษเด็กนั้นจึงเดิน ออกจากกองไฟเป็นปกติ
 ๒. ครั้นท่านพระครูวิสัยโสภณ (ท่านอาจารย์ทิม   ธมฺมธโร) เข้ามาครองวัดช้างให้ใหม่ๆ ท่านข้องใจเรื่องเขตวัดของเดิมเพราะถามชาวบ้านไม่มีใครรู้ คืนวันหนึ่งท่านฝันว่าพบคนแก่ยืนอยู่กลางลานวัดท่านถามถึงเขตวัดตามความข้อง ใจ  คนแก่นั้นบอกว่า ให้ไปถามท่านเหยียบน้ำทะเลจืดในเขื่อน  คนแก่จึงนำท่านพระครู ฯ ไปเห็นพระภิกษุเฒ่าเดินออกจากในเขื่อนสามองค์ปรากฏว่า  ๑. หลวงพ่อสี  ๒. หลวงพ่อทอง  ๓. หลวงพ่อจันทร์  องค์หลังสุดถือไม้เท้าใหญ่  ๓  คด  เดินยันออกมางกงันเพราะความชรามากกว่าองค์ใดๆ  คนแก่จึงบอกว่าองค์นี้แหละ  ท่านเหยียบน้ำทะเลจืดท่านจึงเอาแขนกอดคอท่านพระครู ฯ นำเดินชี้เขตวัดเก่าให้ทราบทั้ง  ๔  ทิศ  ตลอดถึงเนินดินซึ่งเป็นโบสถ์โบราณและบันดาลให้ท่านอาจารย์ฯได้เห็นวัตถุ ต่างๆในหลุมนิมิตซึ่งเป็นของไม่มีค่า  เช่น  พระพุทธรูปหล่อด้วยเงิน  ๑  องค์  เมื่อจะกลับเข้าไปในเขื่อนท่านได้สั่งว่าต้องการอะไรให้บอกแล้วเข้าในเขื่อน หายไป
 "คำว่าเอาอะไรให้บอก คำนี้สำคัญมาก คราวต่อมาโบสถ์ก็สำเร็จพระเครื่องก็ศักดิ์สิทธิ์"