ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันสร้างลานเจดีย์และองค์พญานาคทางเข้าพระเจดียศรีทศพลบรมไตรโลกนาถ ณ วัดน้ำเขียว (บุญช่วยสามัคคีธรรม) ต.กองทูล อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อถวายเป็นไตรรัตนบูชา

ข้าวตอกพระร่วง



ข้าวตอกพระร่วงมีลักษณะเป็นหินก้อนเล็ก ๆ รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์คล้ายกับลูกเต๋า มีสีสนิมเหล็กหรือสีน้ำตาลไหม้คล้ำ ๆ มีหลายขนาด แต่จะมีหน้าราบขนาด ๒.๓ ซม. ก้อนเล็ก ๆ จะมีขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร สำหรับก้อนที่ใหญ่ ๆ นั้น หากเราลองทุบ ให้แตกออก ลักษณะที่แตก ออกจากกันนั้นก็จะคงรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็ก ๆ อีกเหมือนกัน จะมีเพียงบางก้อนที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว หินเหล่านี้ จะมีปะปนอยู่ทั่วไปพบมากบริเวณเขา พระบาทใหญ่ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยา ได้ตรวจสอบแล้วสรุปว่า แร่ที่ชาวบ้าน เรียกว่าข้าวตอก พระร่วงนี้ คือ แร่โลหะชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "แร่ไพไรต์" นั่นเอง อีกชนิดหนึ่งมีลักษณะ คล้ายเม็ดข้าวสารฝังจม ปนอยู่ในหินแร่เหล่านี้ด้วย ชาวบ้าน เรียกว่า ข้าวสารพระร่วง ทั้งสอง ชนิดนี้เป็นที่นิยมกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดมีไว้ถือว่าเป็นสิริมงคล มีความสุขความเจริญด้วย โภคทรัพย์ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนิยม นำมาฝนกับ แผ่นกระเบื้องบดยาหยดน้ำลงไปด้วย ขณะที่ฝนแล้วนำน้ำนั้นมาทาบริเวณที่ถูกพิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้นว่า ตะขาบ มด แมลงป่อง ก็จะหายจากอาการเจ็บปวดอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ชาวบ้านนิยมนำมาดับพิษแมลงเวลาถูกต่อย จะใช้กันอย่าง แพร่หลายด้วยความศรัทราส่วนคนเฒ่าคนแก่ที่กินหมากนั้น จะนิยมนำข้าวตอก พระร่วงมาใส่ปนกับสีผึ้งทาปากตลับละหนึ่งถึงสองเม็ด เหตุที่ทำเช่นนี้เพราะเชื่อว่ามีเมตตา มหานิยมดี โดยเฉพาะเม็ดที่ติดกันชาวบ้านเรียกว่า "อมกัน" นิยมกันมากว่ามีเมตตามหานิยมมากยิ่งขึ้น
ต่อมาข้าวตอกพระร่วงและข้าวสารพระร่วง มีผู้นำมาเจียระไนเป็น เครื่องประดับ และ เข้าพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๗ ทำให้ประชาชน ให้ความสนใจใคร่มีไว้เป็นสิริมงคลกันมาก ปัจจุบันจึงค่อนข้างหายาก
สาเหตุที่เป็นที่นิยมของชาวบ้านว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะมีความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่อง พระร่วงวาจาสิทธิ์ เมื่อครั้งพระองค์เสด็จมาประพาสป่า หยุดเสวย พระกระยาหารกลางวันแล้ว จึงนำข้าวโปรยไว้บนเขาพระบาทใหญ่แล้วกล่าวว่า จงเป็นข้าวตอกดอกไม้ ดังนั้นจึงกลายเป็น ข้าวตอกพระร่วง ข้าวสารพระร่วง ตามวาจาสิทธิ์นั้น
ประวัติความเป็นมา
แร่พระร่วง ข้าวตอกพระร่วงหรือข้าวพระร่วง ตามตำนานของคนโบราณเล่ากันว่าข้าวตอกพระร่วงเป็นแร่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เกิดขึ้นในสมัย พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย พระร่วงท่านเป็นกษัตริย์ที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือเปล่งวาจาอะไรออกไปก็จะเป็นไปตามนั้น ในขณะที่ท่านได้ออกผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ และได้ออกบิณฑบาตรในวันออกพรรษาตักบาตรเทโว เมื่อท่านฉันอาหารเสร็จแล้วข้าวที่เหลือก้นบาตรพร้อมข้าวตอกดอกไม้ท่านได้นำไปโปรยลงบนลานวัดเขาพระบาทใหญ่ แล้วทรงอธิษฐานว่า ขอให้ข้าวตอกดอกไม้นี้กลายเป็นหินชนิดหนึ่งและมีอายุยั่งยืนนานชั่วลูกชั่วหลาน เมื่อใครที่ได้นำไปบูชา ขอให้เจริญด้วยโภคทรัพย์นานาประการ เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง...แหล่งกำเนิด : บริเวณเขาพระบาทใหญ่ จังหวัดสุโขทัย
ลักษณะของแร่ข้าวตอกพระร่วง : มีลักษณะความแข็งคล้ายหิน มีรูปทรงตามธรรมชาติเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสีดำ สีดำปนน้ำตาล สีดำปนลายเงินลายทอง (เชื่อถือกันว่าเป็นสื่อนำโชคลาภ และเงินทอง) เมื่อนำไปเจียรนัยจะมีลักษณะเป็นเงามันสวยงามมากความเชื่อ : หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านได้แจกแร่พระร่วงนี้เมื่อปี ๒๕๑๘ และได้มีประกาศไว้ดังนี้ แร่นี้มีคุณสมบัติเท่าที่ทราบจากพระธุดงค์ที่เคยประสบมาคือ
1.เมื่อจะใช้ท่านให้อาราธณาพระร่วงแล้วอมไว้ เดินทางตลอดวันไม่กระหายน้ำ
2.พระธุดงค์อีกคณะหนึ่งแจ้งว่า เมื่อเดินธุดงค์เพื่อนเกิดท้องร่วง ไม่มียาจึงเสี่ยงเอาแร่พระร่วงใส่กาต้มน้ำแล้วเอาน้ำให้ฉัน พระองค์ที่ป่วยหายจากอาการท้องร่วงทันที
3.เมื่อปี 2516 พระปลัดฉ่อง แห่งอำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท ได้ทำเป็นแหวนแจก ผู้รับไปจำชื่อไม่ได้ มีโจรเข้าปล้นควายโจรมีปืน เจ้าของคนเดียวมีมีดด้วยความเสียดายควายแม้จะเป็นคนเดียวและอาวุธไม่ดีก็ยอมเสี่ยงเข้าไล่โจร โจรยิงด้วยปืนพกและลูกซอง ปรากฏว่าไม่มีแผล เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีอะไรอื่นเลยมีเพียงแร่พระร่วงเท่านั้น...
และจากประสบการณ์ของผู้ที่ได้นำแร่นี้ไปบูชา บนหิ้งหรือพกติดตัวจะอยู่ดีกินดีมีความสุขความเจริญรุ่งเรือง  ด้วยเงินทองและโชคดี มีโชคลาภ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัยและยังสามารถนำไปฝนกับน้ำมะนาวใช้แก้พิษสัตว์กัดต่อยได้อย่างดีอีกด้วย